ราชวงศ์ชิง

เฉินหยวนหยวน: สาวงามผู้พลิกโฉมประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิง

2024-01-10T08:54:18+07:00มกราคม 10th, 2024|

เฉินหยวนหยวน (陈圆圆 ค.ศ.1623 - 1689 หรือ 1695) เดิมแซ่สิง (邢) ชื่อหยวน (沅) เกิดในตระกูลพ่อค้าหาบเร่อยู่ที่เมืองอู่จิ้น (武进 ปัจจุบันคือ เมืองฉางโจว 常州 ในมณฑลเจียงซู) ได้รับการเลี้ยงดูจากน้าเขย จึงเปลี่ยนไปใช้แซ่ “เฉิน” (陈) ตามน้าเขย นับเป็นสตรีผู้มีความงดงามเพียบพร้อมไปด้วยความสามารถทั้งด้านการเขียนพู่กัน หมากรุก วาดรูปและพิณโบราณ

อู๋ซานกุ้ย บุรุษผู้อยู่เบื้องหลังการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์จากหมิงสู่ชิง

2024-01-05T11:27:22+07:00มกราคม 5th, 2024|

ช่วงเวลาคาบเกี่ยวระหว่างราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง อู๋ซานกุ้ย แม่ทัพหนุ่มแห่งราชสำนักหมิง ได้กลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วราชอาณาจักร ด้วยการร่วมมือกับทหารชิงเปิดด่านซานไห่กวน ซึ่งตนทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าด่านอยู่ ส่งผลให้ทหารชิงสามารถยึดนครปักกิ่ง ปิดฉากราชวงศ์หมิงและสถาปนาราชวงศ์ชิงขึ้นในเวลาต่อมา แต่เมื่อผ่านไปอีก 30 ปี อู๋ซานกุ้ยกลับก่อกบฏต่อราชวงศ์ชิงขึ้นอีกครั้ง โดยยึดครองดินแดนฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของจีน คือบริเวณมณฑลยูนนานในปัจจุบัน

กรณีสวรรคตพระนางซูอันไทเฮา: เงื่อนงำในคดีข้ามศตวรรษ

2023-09-26T11:11:21+07:00กันยายน 26th, 2023|

หากกล่าวถึงการว่าราชการหลังม่านในช่วงปลายราชวงศ์ชิง ผู้อ่านทั่วไปมักนึกถึงพระนางซูสีไทเฮา ทว่ายังมีขัตติยนารีอีกหนึ่งพระองค์ที่ว่าราชการเคียงบ่าเคียงไหล่พระนางซูสีไทเฮาเป็นระยะเวลาสองทศวรรษ นั่นคือสมเด็จพระพันปีหลวงฉืออัน หรือพระนางซูอันไทเฮา ฮองเฮาในจักรพรรดิเสียนเฟิงแม้เรื่องราวชีวิตของพระนางจะมิได้เป็นที่กล่าวขานของชนรุ่นหลังเฉกเช่นพระนางซูสีก็ตาม

ซูสีไทเฮาและเลดีคองเกอร์: มิตรภาพข้ามแดนระหว่างพระพันปีหลวงกับภริยาทูตอเมริกัน

2023-06-30T10:31:27+07:00มิถุนายน 30th, 2023|

พระฉายาลักษณ์หนึ่งที่น่าสนใจของสมเด็จพระพันปีหลวงฉือสี่ (慈禧太后 ค.ศ. 1835 - 1908) หรือพระนางซูสีไทเฮา ที่มีผู้ให้ความสนใจกันมากภาพหนึ่ง คือภาพที่ประทับนั่งและยื่นพระหัตถ์ให้สุภาพสตรีชาวตะวันตกผู้หนึ่งจับ ซึ่งแสดงออกถึงการ "เปิดรับ" ความเป็นตะวันตกของราชสำนักชิงในช่วงใกล้อวสาน นอกจากองค์ประกอบภาพที่น่าสนใจแล้ว บุคคลในภาพที่จับพระหัตถ์พระพันปีหลวงอย่างเลดีซาราห์ ไปค์ คองเกอร์ (Lady Sarah Jane Pike Conger ค.ศ. 1843 - 1932) ก็มีประวัติน่าสนใจ ในฐานะ "พระสหาย" ชาวตะวันตกของพระพันปีหลวงเช่นกัน

เขตล่าสัตว์มู่หลานและพิธีล่าสัตว์ประจำราชสำนักชิง

2025-03-07T15:40:00+07:00มีนาคม 12th, 2021|

เมื่อพูดถึงคำว่า ‘มู่หลาน’ (木蘭) หลายคนอาจจะนึกถึง ‘ฮวามู่หลาน’ (花木蘭) วีรสตรีจีนที่ปรากฏในบทร้อยกรองโบราณก่อนถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในภายหลัง ทว่าคำว่า ‘มู่หลาน’ ในบทความนี้เป็นชื่อสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับฮวามู่หลานแต่อย่างใด สถานที่นี้มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า ‘เขตล่าสัตว์มู่หลาน’ (木蘭圍場) อันเป็นเขตล่าสัตว์ประจำราชวงศ์ชิง

เรจินัลด์ จอห์นสตัน พระอาจารย์ฝรั่งของจักรพรรดิจีนองค์สุดท้าย

2025-04-01T23:52:10+07:00กุมภาพันธ์ 10th, 2021|

‘เรจินัลด์ เฟลมิง จอห์นสตัน’ (Reginald Fleming Johnston / 莊士敦 ค.ศ. 1874-1938) เป็นพระอาจารย์ชาวตะวันตกของจักรพรรดิปูยี (溥儀 ค.ศ. 1906-1967) หรือจักรพรรดิเซวียนถ่ง (宣統) จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง (清 ค.ศ. 1636-1912) และเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของประเทศจีน จอห์นสตันเป็นชาวสก็อตแลนด์ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1874 สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระและมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด

การค้นพบและขั้นตอนการสร้างหุ่นทหารดินเผาจักรพรรดิจิ๋นซี

2021-01-22T17:29:01+07:00มกราคม 22nd, 2021|

พิพิธภัณฑสถานสุสานทหารดินเผาแห่งจักรพรรดิจิ๋นซี (秦始皇兵馬俑博物館) ถูกสร้างขึ้นในบริเวณที่มีการค้นพบสุสานทหารดินเผาและเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1979  ลักษณะสุสานเป็นต้นแบบของสุสานจักรพรรดิในสมัยโบราณที่ใช้การสร้างหุ่นดินเผาแทนการฝังคนทั้งเป็นเพื่อไปเป็นข้ารับใช้จักรพรรดิในภพหน้า เช่น ทหารม้า ทหารราบ

ห้องพระเครื่องต้นในสมัยราชวงศ์ชิง

2021-01-14T15:44:40+07:00มกราคม 14th, 2021|

พระกระยาหารของจักรพรรดิแต่ละมื้อนั้นห้องพระเครื่องต้นเตรียมไว้ 4 โต๊ะ แต่ละโต๊ะมีอาหารกว่า 20 ชนิด รวมแล้วไม่น้อยกว่า 100 ชนิด ส่วนพระกระยาหารของฮองเฮาและเหล่านางสนมแต่ละมื้อมีประมาณ 40 ชนิด นอกจากนี้ยังมีโจ๊ก ขนมอบ อาหารประเภทหมี่ และเครื่องเคียง (คือเครื่องจิ้ม เครื่องแนม) ต่างๆ

‘ยงเจิ้ง’ ฮ่องเต้ผู้ทรงพระวิริยปรีชา

2025-03-25T09:08:51+07:00ธันวาคม 10th, 2020|

เมื่อกล่าวถึงจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ชิง (清朝 ค.ศ. 1636-1912) แน่นอนว่าย่อมต้องมี 3 พระองค์ รวมอยู่ด้วย ได้แก่ จักรพรรดิคังซี (康熙 ค.ศ. 1654-1722) ครองราชสมบัติยาวนานถึง 61 ปี สวรรคตเมื่อพระชนมายุ 69 พรรษา จักรพรรดิยงเจิ้ง (雍正 ค.ศ. 1678-1735) ครองราชสมบัติเพียง 13 ปี สวรรคตเมื่อพระชนมายุ 57 พรรษาเท่านั้น และจักรพรรดิเฉียนหลง  (乾隆 ค.ศ. 1711-1799)

จักรพรรดิคังซีกับ 5 กุศโลบายในการพัฒนาชาติจีน

2025-03-25T09:42:21+07:00ตุลาคม 7th, 2020|

จักรพรรดิคังซี (康熙 ค.ศ1654-1722) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์ชิง (清 ค.ศ 1636 – ค.ศ 1912) เป็นโอรสของจักรพรรดิซุ่นจื้อ (順治 ค.ศ 1638-1661) ขึ้นครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา หลังจากพระราชบิดาสวรรคตแล้ว พระองค์ก็อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระอัยยิกา (ย่า) จักรพรรดิ 

Go to Top