Cultural History2020-05-13T11:43:44+07:00

ประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรมจีน

บทความสาระความรู้ที่เกี่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน

“เติ้งสุย” หงส์เหนือมังกรแห่งฮั่นตะวันออก

แม้ว่าในสังคมจีนโบราณจะมีสำนวนกล่าวว่า “ถ้าไก่ตัวเมียขันตอนย่ำรุ่ง บ้านเรือนจักมีเรื่องวุ่นวาย” (牝雞司晨,惟家之索) ซึ่งมีความหมายเชิงอุปมาว่า “ถ้าผู้หญิงขึ้นเป็นใหญ่ บ้านเมืองจักระส่ำระสาย” ทว่าในประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ยุคบรรพกาลเป็นต้นมา ก็ปรากฏสตรีมากหน้าหลายตาที่กุมอำนาจ สร้างชาติบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นได้ไม่แพ้บุรุษ

ปานเจา: ยอดกัลยาณี นักประวัติศาสตร์หญิงคนแรกของจีน

แม้จะมิได้มีรูปโฉมงามเลิศเยี่ยงไซซี (西施 ราว 503–473 ปีก่อนค.ศ.) และหวังเจาจวิน (王昭君 ราว 54–19 ปีก่อนค.ศ.) แต่ “ปานเจา” (班昭 ราวค.ศ. 49–120) ก็ปรากฏเกียรติคุณโด่งดังอยู่ในประวัติศาสตร์จีน เพราะเป็นยอดกัลยาณีผู้เพียบพร้อมไปด้วยความรู้เป็นเลิศและประเสริฐด้วยจริยาวัตร หาผู้เสมอเหมือนมิได้

‘แพะ’ สัตว์มงคลของจีน

ความเชื่อเรื่องสิริมงคลได้ซึมซาบอยู่ในวิถีชีวิตของชาวจีนอย่างกลมกลืนและแนบแน่นมาช้านาน แม้จะยังไม่สามารถระบุแน่ชัดว่า ความเชื่อเรื่องสิริมงคลของชาวจีนเริ่มต้นขึ้นเมื่อใด มีที่มาอย่างไร แต่มีข้อสันนิษฐานที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า เมื่อมนุษย์เราใฝ่หาความสุข ความงาม และความปลอดภัย ก็ย่อมอยากให้ทุกสิ่งในชีวิตสมหวังดังที่ปรารถนาเป็นธรรมดา ซึ่งเห็นได้จากความเชื่อต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

ภาพเขียนกระจก ศิลปกรรมจีนที่สร้างชื่อเสียงในตลาดยุโรป

ศิลปะจีนมีเกียรติประวัติและพัฒนาการมาเนิ่นนาน ทั้งยังได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ไทยเป็นประเทศหนึ่งซึ่งนิยมนำศิลปะจีนมาประยุกต์ใช้กับสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 3 ในบรรดางานศิลปกรรมจีนที่นำมาตกแต่งวัดวาอารามจำนวนมากในรัชกาลดังกล่าวนั้น ภาพเขียนกระจกกลับด้านแบบจีน ถือเป็นงานวิจิตรศิลป์ที่เสริมองค์ประกอบภายในพระอารามให้มีความงดงามยิ่งขึ้น แต่ความเป็นมาของภาพเขียนกระจกเหล่านี้ก็น่าสนใจและควรค่าแก่การเรียนรู้เช่นกัน

“หลิ่มไต่คิม” กับบทบาททางวัฒนธรรมถิ่นแต้จิ๋ว

มีนิทานพื้นบ้านหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชะตาชีวิตของหลิ่มไต่คิม (林大欽 หลินต้าชิน ค.ศ. 1511~1545) จอหงวนฝ่ายบุ๋นท่านเดียวในประวัติศาสตร์แต้จิ๋ว (潮州)  และนิทานเหล่านี้ก็เป็นที่มาของสำนวนแต้จิ๋วบางสำนวน รวมถึงประเพณีต่างๆ ที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

ทำไมจึงเรียก “เสี่ยวเอ้อร์” ?

เสี่ยวเอ้อร์” (小二) หมายถึง บริกรเพศชายตามโรงเตี๊ยม โรงน้ำชา หรือศาลาพักม้า โดยรูปศัพท์ คำว่า “เสี่ยวเอ้อร์ จะแปลว่า “ลำดับที่สอง” ซึ่งดูแล้วก็ไม่น่าจะมีอะไรเกี่ยวข้องกับบริกรเลย แต่การเรียกขานเช่นนี้ก็เนื่องมาแต่จีนสมัยโบราณ การเรียกชื่อเสียงเรียงนามจะมีใช้กันก็แต่ในหมู่ขุนนางและชนชั้นสูงที่มีการศึกษาเท่านั้น

Go to Top