ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน

พระเอกในเรื่อง ‘หนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า’ แท้จริงแล้วอาจไม่ได้เลี้ยงวัว แต่เลี้ยง ‘ควาย’

2021-10-15T14:41:24+07:00ตุลาคม 15th, 2021|

รู้หรือไม่… ตามท้องเรื่อง ‘หนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า’ พระเอกนามว่าหนิวหลาง (牛郎) นั้น ไม่ได้เลี้ยงวัวเพียงอย่างเดียว และตัว ‘牛’ ที่เขาเลี้ยงไว้ตั้งแต่เด็กและกลายเป็นเพื่อนคู่ใจของเขาในภายหลังนั้น แท้จริงอาจจะเป็น ‘ควาย’ !

เหตุใดคนจีนสมัยโบราณถึงเขียนอักษรเป็นแนวตั้ง?

2021-10-07T11:45:54+07:00ตุลาคม 7th, 2021|

ปกติเราเขียนและอ่านหนังสือจากทางซ้ายไปทางขวา แต่คนจีนในสมัยโบราณจะเขียนและอ่านหนังสือจากขวาไปซ้าย มีเหตุผล 3 ประการ ได้แก่ 1. ลักษณะหนังสือของยุคโบราณ 2. วิธีการเขียนและอ่านหนังสือของคนยุคโบราณ  3. อักษรจีนในยุคแรกเริ่มมีลักษณะเป็นอักษรภาพ ซึ่งไม่ใช่การสะกดคำ

ก่วนจ้ง: มหาเสนาบดีสีเทาผู้ยากจะนิยาม

2025-05-08T11:55:21+07:00กันยายน 24th, 2021|

หากพูดถึงบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จีนอย่างขงจื่อ (孔子) เหลาจื่อ (老子) เมิ่งจื่อ  (孟子) หรือแม้แต่สวินจื่อ (荀子) เชื่อว่าคนไทยหลายต่อหลายคนคงได้ยินผ่านหูมาบ้าง  แต่มีบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จีนอีกท่านหนึ่งที่ยังไม่ค่อยปรากฏสู่สายตาคนไทยและยังไม่ค่อยได้รับการพูดถึงเท่าใดนัก นั่นก็คือ ก่วนจ้ง (管仲) หรือก๋วนจื่อ  (管子)

หลักคุณธรรมค้ำจุนรัฐทั้งสี่ (国之四维)

2021-09-06T15:43:01+07:00กันยายน 6th, 2021|

‘หลักคุณธรรมค้ำจุนรัฐทั้งสี่’ (国之四维) ได้รับการบันทึกไว้ในบท ‘มู่หมิน’ (牧民) ซึ่งเป็นบทแรกในตำรา ‘ก๋วนจื่อ’ (管子) อันเป็นตำราที่อนุชนได้รวบรวมภูมิปัญญาความคิดของก่วนจ้ง (管仲 มหาเสนาบดีสมัยชุนชิว) เอาไว้ ตำราเล่มนี้มีเนื้อหาครอบคลุมหลากหลายด้าน ทั้งเรื่องการปกครองบ้านเมือง การวางระบบกฎหมาย การจัดระเบียบสังคม และการพัฒนาเศรษฐกิจ  อีกทั้งยังสอดแทรกแนวคิดของลัทธิขงจื๊อ (儒家) ลัทธิเต๋า (道家) และลัทธินิติธรรมนิยม (法家) เข้าไว้อีกด้วย

‘พัคบุลฮวา’ ขันทีชาวเกาหลีผู้ทรงอิทธิพลในราชวงศ์หยวน

2021-08-27T15:15:11+07:00สิงหาคม 27th, 2021|

เมื่อกล่าวถึง ‘ขันที’ เรามักนึกถึงชายชาวจีนที่ถูกตอนอวัยวะเพศ และคอยปรนนิบัติรับใช้อยู่ภายในวังหลวงจีนสมัยโบราณ น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในประวัติศาสตร์จีนไม่ได้มีเพียงเพียงชายชาวจีนเท่านั้น แต่ยังมีขันทีต่างชาติอีกจำนวนหนึ่งที่ถูกส่งตัวมาจากแคว้นน้อยใหญ่เสมือนทูตบรรณาการเพื่อแสดงความสวามิภักดิ์และความสัมพันธ์อันดีกับอาณาจักรจีนผู้ยิ่งใหญ่

การผดุงครรภ์แบบจีน

2021-08-19T16:54:23+07:00สิงหาคม 19th, 2021|

การมีบุตรจำนวนมากเพื่อดำรงไว้ซึ่งวงศ์ตระกูลถือเป็นค่านิยมสำคัญของคนจีนมาแต่โบราณ ทว่าในสมัยก่อนวิทยาการด้านการแพทย์ยังค่อนข้างล้าหลัง อัตราการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากภาวะคลอดยากจึงอยู่ในระดับสูง ทารกหลายคนต้องสิ้นชีวิตลงก่อนลืมตาดูโลก ยิ่งกว่านั้นค่านิยมการแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยทำให้ร่างกายไม่พร้อมสำหรับการมีบุตร

พระสนมเจินเฟย โศกนาฏกรรมที่บ่อน้ำ ณ วังต้องห้าม

2025-04-18T16:55:38+07:00สิงหาคม 16th, 2021|

สนมเจินเฟย (珍妃 ค.ศ. 1876-1900) เกิดเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1876 มีพี่สาวต่างมารดาคือสนมจิ่นเฟย (瑾妃 ค.ศ. 1873-1924) บิดามีนามว่าจ่างซวี่ (長敘) เป็นผู้ช่วยประจำกระทรวงพิธีกรรม (禮部) ส่วนมารดาแซ่จ้าว (赵) เมื่อสนมเจินเฟยและสนมจิ่นเฟยมีอายุ 13 และ 15 ปีตามลำดับก็ได้รับการคัดเลือกเข้าวังหลวงมาเป็นนางกำนัล (嬪) ครั้นเวลาผ่านไป 5 ปี ทั้งคู่ก็เลื่อนตำแหน่งเป็นพระสนม (妃) ในจักรพรรดิกวงซวี่ (光緒帝 ค.ศ. 1871-1908)

ชง 冲 ในภาษาและวัฒนธรรมจีน ตอนที่ 2

2021-07-16T17:48:45+07:00กรกฎาคม 16th, 2021|

แม้คนจีนจะมีความเชื่อเรื่องสิ่งลี้ลับเป็นข้อห้ามอยู่มาก แต่ก็มีทางแก้ไข ไม่ใช่เชื่องมงายจนถ่วงชีวิตตนเอง ความเชื่อบางเรื่องเป็นกุศโลบายฝึกวินัยในโอกาสอันควร เช่น วันแรกของปีใหม่จีน (1 ค่ำเดือนอ้ายจีน) ที่คนไทยนิยมเรียกว่า วันถือ นั้น ห้ามพูดคำหยาบ ห้ามทะเลาะเบาะแว้ง ห้ามทำของแตกหัก ก็เพื่อฝึกความสำรวมระวัง เป็นการเริ่มต้นที่ดีในปีใหม่

เปิดพรีออเดอร์ หนังสือใหม่ ‘100 ข้อสงสัย ไขปริศนาแผ่นดินมังกร’

2021-06-30T19:41:16+07:00มิถุนายน 30th, 2021|

หนังสือใหม่มาแล้วจ้า!  ‘100 ข้อสงสัย ไขปริศนาแผ่นดินมังกร’ รวบรวมคำถามจี๊นจีนที่คุณต้องอยากรู้กว่า 100 ข้อ พิมพ์ด้วยกระดาษถนอมสายตา จำนวน 228 หน้า ราคาเล่มละ 199 บาท ส่งลงทะเบียนฟรี! เฉพาะผู้สั่งจองล่วงหน้าเท่านั้น!

ชง 冲 ในภาษาและวัฒนธรรมจีน ตอนที่ 1

2021-06-29T15:48:04+07:00มิถุนายน 29th, 2021|

มหาพจนานุกรมจีน (汉语大词典) ซึ่งเป็นพจนานุกรมฉบับใหญ่และมาตรฐานที่สุดของจีนในปัจจุบันก็เก็บความหมายของคำว่า ชง เชิงความเชื่อทางโหราศาสตร์ไว้ในคำว่า 冲犯 คือ ล่วงเกิน ขัดแย้ง ถ้าอะไร “ชง” กันจึงไม่ควรเกี่ยวข้องกันเพราะจะขัดแย้ง ล่วงเกินกัน ทำให้เกิดผลร้ายตามมานั่นเอง แต่ดังกล่าวแล้วว่าตามหลักปรัชญายินหยาง “ชง” หรือการขัดข่มกันเป็นของคู่กับการเกื้อกูลให้กำเนิด ดำเนินควบคู่กันไปตามสมดุลของธรรมชาตินั่นเอง เป็นปกติวิสัยของธรรมชาติ มิได้เลวร้ายจนน่าสะพรึงกลัว ควรเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมเท่านั้น

Go to Top