—–‘หลักคุณธรรมค้ำจุนรัฐทั้งสี่’ (国之四维) ได้รับการบันทึกไว้ในบท ‘มู่หมิน’ (牧民) ซึ่งเป็นบทแรกในตำรา ‘ก๋วนจื่อ’ (管子) อันเป็นตำราที่อนุชนได้รวบรวมภูมิปัญญาความคิดของก่วนจ้ง (管仲 มหาเสนาบดีสมัยชุนชิว) เอาไว้ ตำราเล่มนี้มีเนื้อหาครอบคลุมหลากหลายด้าน ทั้งเรื่องการปกครองบ้านเมือง การวางระบบกฎหมาย การจัดระเบียบสังคม และการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งยังสอดแทรกแนวคิดของลัทธิขงจื๊อ (儒家) ลัทธิเต๋า (道家) และลัทธินิติธรรมนิยม (法家) เข้าไว้อีกด้วย —–‘หลักคุณธรรมค้ำจุนรัฐทั้งสี่’ ในแง่คิดของก่วนจ้ง ประกอบไปด้วย —–ก่วนจ้งเปรียบ ‘หลักคุณธรรมค้ำจุนรัฐทั้งสี่’ เป็นดั่งเสาบ้านทั้งสี่ต้น หากขาดเสาไปหนึ่งต้น บ้านก็จะเริ่มทรุดเอียง ขาดไปสองต้นบ้านก็จะเริ่มมีอันตราย ขาดไปสามต้นบ้านก็จะพังถล่มลงมา และถ้าสุดท้ายเมื่อไม่เหลือเสาเลยสักต้น ก็จะไม่มีบ้านอีกต่อไป —–ก่วนจ้งคิดว่า เมื่อนำ ‘หลักคุณธรรมค้ำจุนรัฐทั้งสี่’ มาเปรียบกับกฎหมายแล้ว หลักคุณธรรมนั้นสำคัญกว่ากฎหมายมาก เพราะบ้านเมืองจะสงบสุขและเจริญรุ่งเรืองได้นั้นจะต้องมีคุณธรรมเป็นตัวนำพา ‘หลักคุณธรรมค้ำจุนรัฐทั้งสี่’ เป็นหลักที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงอยู่ของรัฐ คนเราไม่ประพฤติชั่วไม่ใช่เพราะเกรงกลัวกฎหมาย หากแต่เป็นเพราะมีจิตสำนึกที่ดี เมื่อใดที่หลักคุณธรรมทั้งสี่นี้หลอมรวมกันเป็นจิตสำนึกสามัญของมวลชนแล้ว เมื่อนั้นรัฐก็จะดำรงอยู่ได้อย่างสงบสุขและยืนยง เรื่องโดย แม็กกี้หมิง