ประวัติศาสตร์จีน

“ตำหนักทอง” แห่งนครคุนหมิง

2023-12-27T15:14:17+07:00ธันวาคม 27th, 2023|

ตำหนักทอง (金殿) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตำหนักไท่เหอกง (太和宫) เป็นตำหนักทองที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดในประเทศจีน และเป็นอารามของลัทธิเต๋าที่มีชื่อเสียงของมณฑลยูนนาน ตั้งอยู่เชิงเขาหมิงเฟิ่งซาน (鸣凤山 หรือภูเขานกแก้ว 鹦鹉山) ห่างออกไปทางตะวันออกของเมืองคุนหมิงราว 8 กิโลเมตร

พิพิธภัณฑสถานมณฑลยูนนาน

2023-12-22T09:05:37+07:00ธันวาคม 22nd, 2023|

พิพิธภัณฑสถานมณฑลยูนนาน (云南省博物馆) เป็นสถานที่รวบรวมวัตถุโบราณนานาชนิด อีกทั้งยังจัดแสดงสิ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณชนและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ

“น่านเจ้า” อาณาจักรโบราณที่เลือนหาย

2023-12-19T14:46:37+07:00ธันวาคม 19th, 2023|

นับแต่สมัยราชวงศ์ฉินเป็นต้นมา ชาวจีนจงหยวน มักอ้างเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ “จวงเฉียวรู่เตียน” เพื่อถือสิทธิ์ครอบครองดินแดนยูนนาน ทว่าในทางภูมิศาสตร์ ดินแดนยูนนานอยู่ห่างจงหยวนมาก จักรพรรดิจึงมิอาจปกครองโดยใช้อำนาจเบ็ดเสร็จได้ อีกทั้งมีอาณาจักรน่านเจ้า ซึ่งเคยแผ่อิทธิพลไปถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน ผงาดขึ้นเป็นรัฐอิสระทรงพลังในอาณาบริเวณนี้ในสมัยราชวงศ์ถัง

อิทธิพลของเรื่องสยองขวัญและภูตผีปีศาจจีนในวัฒนธรรมญี่ปุ่น

2023-11-30T09:42:03+07:00พฤศจิกายน 30th, 2023|

ญี่ปุ่นเป็นชาติหนึ่งที่รับวัฒนธรรมจากจีนมาช้านาน นับตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย (隋 ค.ศ. 581 - 619) ของจีนเป็นอย่างน้อย วัฒนธรรมจีนได้กลายเป็นรากฐานของวัฒนธรรมญี่ปุ่นในหลายด้าน รวมถึงสิ่งซึ่งเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของญี่ปุ่นอย่างตำนานภูตผีปีศาจและสิ่งมีชีวิตพิสดาร ซึ่งวัฒนธรรมจีนก็สามารถแทรกซึมเข้าไปได้อย่างแนบเนียน ภูตผีปีศาจของจีนจำนวนหนึ่งจึงเข้าไปโลดแล่นในปกรณัมภูตผีปีศาจของญี่ปุ่นด้วย

ย้อนรอยตระกูลต้วนแห่งต้าหลี่

2023-11-01T10:48:17+07:00พฤศจิกายน 1st, 2023|

ในยุทธจักรอันกว้างใหญ่ ซึ่งเปี่ยมด้วยบรรดาจอมยุทธ์และวิทยายุทธ์สุดพิสดารนั้น “กระบี่หกชีพจร” (六脈神劍) และ“ดรรชนีเอกสุริยัน” (一陽指) ถือว่าเป็นสองยอดกระบวนท่าของตระกูลต้วน (段氏) แห่งอาณาจักรต้าหลี่ (大理國 ค.ศ. 937 – 1094, 1096 - 1254)[1] ที่ยากจักหากระบวนท่าใดทัดเทียม

เล่าเรื่อง “เทศกาลกินเจ”

2023-10-20T09:57:34+07:00ตุลาคม 20th, 2023|

เทศกาลกินเจคืออะไร? เหตุใดจึงนิยมในประเทศไทย? แล้วประเทศจีนมีการกินเจหรือไม่? เชื่อว่าคำถามเหล่านี้คงจะปรากฏขึ้นในความคิดของผู้อ่านหลายท่านเมื่อถึงเทศกาลกินเจประจำทุกปี วันนี้อาศรมสยามฯ จะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้แก่ทุกท่านเอง

สวนวัฒนธรรมเจิ้งเหอ

2023-09-26T11:18:25+07:00กันยายน 26th, 2023|

เจิ้งเหอ (郑和 ค.ศ. 1371 - 1433) เป็นนักเดินเรือคนสำคัญในสมัยราชวงศ์หมิง (明 ค.ศ. 1368 – 1644) เล่าขานกันว่าชื่อเดิมของเขาคือ หม่าเหอ  (马和) และมีชื่อเล่นว่า ซานเป่า (三保) ส่วนแซ่เจิ้ง (郑) เป็นแซ่ที่จักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ (明成祖 ค.ศ. 1360 - 1424) พระราชทานให้ในภายหลัง ชาวไทยส่วนมากรู้จักเจิ้งเหอกันในนาม ซำปอกง (三宝公)

กรณีสวรรคตพระนางซูอันไทเฮา: เงื่อนงำในคดีข้ามศตวรรษ

2023-09-26T11:11:21+07:00กันยายน 26th, 2023|

หากกล่าวถึงการว่าราชการหลังม่านในช่วงปลายราชวงศ์ชิง ผู้อ่านทั่วไปมักนึกถึงพระนางซูสีไทเฮา ทว่ายังมีขัตติยนารีอีกหนึ่งพระองค์ที่ว่าราชการเคียงบ่าเคียงไหล่พระนางซูสีไทเฮาเป็นระยะเวลาสองทศวรรษ นั่นคือสมเด็จพระพันปีหลวงฉืออัน หรือพระนางซูอันไทเฮา ฮองเฮาในจักรพรรดิเสียนเฟิงแม้เรื่องราวชีวิตของพระนางจะมิได้เป็นที่กล่าวขานของชนรุ่นหลังเฉกเช่นพระนางซูสีก็ตาม

ภูเขาหนิวโส่วซาน: พุทธสถานชื่อดังของประเทศจีน

2023-09-25T14:58:43+07:00กันยายน 25th, 2023|

ภูเขาหนิวโส่วซาน (牛首山) ตั้งอยู่ในเขตเจียงหนิง เป็นจุดชมวิวในเขตชานเมืองทางตอนใต้ของเมืองหนานจิง มีความสูง 248 เมตร เป็นพุทธสถานชื่อดังของประเทศจีน เรืองนามด้วยภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่ลึกซึ้ง เป็นภูเขาที่แฝงด้วยกลิ่นอายโบราณอันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองหนานจิง

ศาลขงจื่อแห่งนครหนานจิง

2023-09-25T14:33:11+07:00กันยายน 25th, 2023|

ศาลขงจื่อแห่งนครหนานจิง มีชื่อภาษาจีนว่า “หนานจิงฟูจื่อเมี่ยว” แปลว่า “ศาลฟูจื่อเมืองหนานจิง” เหตุที่ใช้ชื่อว่าศาลฟูจื่อ (夫子) เพราะคำว่า “ฟูจื่อ” เป็นคำที่บรรดาสานุศิษย์ใช้เรียกขานขงจื่อด้วยความเคารพนับถือ ศาลแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณเขตฉินหวย (秦淮区) นครหนานจิง ถือเป็นหนึ่งสถานที่สำคัญด้านวัฒนธรรมของเมืองหนานจิง

Go to Top