ประวัติศาสตร์จีน

เจ้าแม่มาจู่ เทพธิดาแห่งท้องทะเล (海神妈祖)

2025-06-25T10:41:59+07:00พฤษภาคม 16th, 2024|

หากกล่าวถึงชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มแรกๆ ที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ชาวฮกเกี้ยนคงเป็นกลุ่มหนึ่งที่หลายคนนึกถึง ชาวจีนกลุ่มนี้อพยพเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนใหญ่มีบทบาทสำคัญทางการค้า นอกจากความเจริญรุ่งเรืองทางการค้าและความสัมพันธ์ทางการทูตแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ชาวจีนโพ้นทะเลเหล่านี้นำติดตัวเข้ามาด้วย และมีอิทธิพลต่อชนพื้นเมืองในภายหลังก็คือ “วัฒนธรรม”

สุสานพระเจ้าตากสิน ณ เถ่งไฮ่

2024-05-14T16:21:58+07:00พฤษภาคม 14th, 2024|

พิพิธภัณฑสถานมณฑลยูนนาน (云南省博物馆) เป็นสถานที่รวบรวมวัตถุโบราณนานาชนิด อีกทั้งยังจัดแสดงสิ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณชนและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ

“ลูกหมู” การค้าแรงงานจีนไปต่างประเทศ

2024-05-13T13:12:39+07:00พฤษภาคม 13th, 2024|

คำว่า “ลูกหมู” (豬仔) มาจากไหน มีที่มาอย่างไร เหตุใดจึงมีประเด็นโยงใยไปถึงการค้าแรงงานจีนไปต่างประเทศได้ แม้แต่ในปัจจุบันยังปรากฏคำว่า “ลูกหมู” หรือ “แก๊งลูกหมู” (豬仔帮) บนหน้าหนังสือพิมพ์ยามที่กล่าวถึงเหล่ามิจฉาชีพชาวจีน ซึ่งเป็นถ้อยคำที่แฝงไปด้วยความหมายเชิงลบและการดูถูกดูแคลน

เอ็งกอ: จากศิลปะพื้นบ้านจีนสู่วิถีชุมชนไทย

2024-04-10T09:47:05+07:00เมษายน 10th, 2024|

เอ็งกอ (英歌) ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า “อิงเกอ” (Yīng gē) คือศิลปะการแสดงพื้นบ้านแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นที่นิยมในพื้นที่แถบชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เตี่ยซัว (潮汕) และบางพื้นที่ของมณฑลฮกเกี้ยน (福建 ฝูเจี้ยน) ในวันสำคัญต่างๆ ของทุกปี เช่น เทศกาลตรุษจีน (春節) เทศกาลหยวนเซียว (元宵節) ฯลฯ จะมีการจัดกระบวนแห่อันน่าตื่นตาตื่นใจเพื่อให้เกิดความสนุกสนานตลอดมา

หลากหลายความหมายของคำว่า ‘เทียน’ (天)

2025-03-10T08:55:36+07:00กุมภาพันธ์ 29th, 2024|

สืบเนื่องจากจดหมายข่าวอาศรมสยาม-จีนวิทยา ฉบับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ลำดับที่ 250 (เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566) ได้นำเสนอบทความเรื่อง ‘ถอดรหัสความหมายมงคลชื่ออาหารจีน’ เนื้อหาตอนต้นของบทความมีการอ้างถึงสำนวนจีน ‘民以食为天’ ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า ราษฎรถือว่าปากท้องสำคัญเทียมฟ้า ในเวลาต่อมา อาจารย์ถาวร สิกขโกศล ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษาได้กรุณาให้คำแนะนำเกี่ยวกับสำนวนจีนดังกล่าวว่า หมายถึง 'ราษฎรดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร' เพราะอักษร 天 tiān (เทียน) มีหลายความหมาย มิได้แปลว่า ‘ฟ้า’ เพียงอย่างเดียว

เคอจี่ว์: การสอบคัดเลือกข้าราชการในจีนสมัยโบราณ (2)

2024-02-29T10:18:38+07:00กุมภาพันธ์ 29th, 2024|

ปัจจุบัน แม้ “ระบบการสอบคัดเลือกข้าราชการแบบเคอจี่ว์” จะถูกยกเลิกมากว่า 100 ปีแล้ว แต่ระบบการสอบซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในองคาพยพของสังคมจีนสมัยโบราณนี้ก็ยังคงมีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นกรณีศึกษาในวงวิชาการ นักวิชาการบางกลุ่มมองว่า การสอบเข้ารับราชการแบบเคอจี่ว์ เป็นต้นแบบของระบบการคัดเลือกบุคคลที่ใช้กันในปัจจุบัน

วิเคราะห์การใช้คำอวยพรปีมังกร

2024-02-01T16:43:07+07:00กุมภาพันธ์ 1st, 2024|

ในคติความเชื่อของจีน ‘มังกร’ (龙 lóng) เป็นสัตว์วิเศษที่แปลงร่างได้ บินขึ้นฟ้าได้ มุดลงดินหรือดำน้ำลึกได้ สามารถปรับตัวได้ในหลายสถานการณ์ มีอิทธิฤทธิ์เกี่ยวข้องกับฟ้าฝนน้ำและไฟ รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์แทนอำนาจจักรพรรดิ ความสูงส่ง และเกียรติยศในวัฒนธรรมจีน นอกจากนี้ ศาสตร์ฮวงจุ้ยยังกำหนดให้ มังกรคราม (青龙 qīng lóng) เป็นสัตว์ประจำทิศตะวันออก มีสถานะเทียบเท่าเทพเจ้าในลัทธิเต๋า สามารถปัดเป่าความชั่วร้ายและพลังลบต่างๆ พร้อมนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง อายุยืนยาว โชคลาภวาสนาได้อีกด้วย

เคอจี่ว์: การสอบคัดเลือกข้าราชการในจีนสมัยโบราณ (1)

2024-01-30T14:22:36+07:00มกราคม 30th, 2024|

เคอจี่ว์ (科舉) หรือที่คนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า “การสอบจอหงวน” (考狀元) คือการทดสอบความรู้ความสามารถด้วยการแข่งขันเพื่อคัดเลือกบัณฑิตชั้นยอดเข้าสู่ระบบราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งขุนนางโดยจักรพรรดิ แม้ว่าทุกวันนี้ระบบการสอบดังกล่าวจะถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ก็ยังคงถือเป็นระบบการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการที่สำคัญและหยั่งรากลึกในสังคมจีนมาอย่างยาวนาน

เฉินหยวนหยวน: สาวงามผู้พลิกโฉมประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิง

2024-01-10T08:54:18+07:00มกราคม 10th, 2024|

เฉินหยวนหยวน (陈圆圆 ค.ศ.1623 - 1689 หรือ 1695) เดิมแซ่สิง (邢) ชื่อหยวน (沅) เกิดในตระกูลพ่อค้าหาบเร่อยู่ที่เมืองอู่จิ้น (武进 ปัจจุบันคือ เมืองฉางโจว 常州 ในมณฑลเจียงซู) ได้รับการเลี้ยงดูจากน้าเขย จึงเปลี่ยนไปใช้แซ่ “เฉิน” (陈) ตามน้าเขย นับเป็นสตรีผู้มีความงดงามเพียบพร้อมไปด้วยความสามารถทั้งด้านการเขียนพู่กัน หมากรุก วาดรูปและพิณโบราณ

อู๋ซานกุ้ย บุรุษผู้อยู่เบื้องหลังการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์จากหมิงสู่ชิง

2024-01-05T11:27:22+07:00มกราคม 5th, 2024|

ช่วงเวลาคาบเกี่ยวระหว่างราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง อู๋ซานกุ้ย แม่ทัพหนุ่มแห่งราชสำนักหมิง ได้กลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วราชอาณาจักร ด้วยการร่วมมือกับทหารชิงเปิดด่านซานไห่กวน ซึ่งตนทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าด่านอยู่ ส่งผลให้ทหารชิงสามารถยึดนครปักกิ่ง ปิดฉากราชวงศ์หมิงและสถาปนาราชวงศ์ชิงขึ้นในเวลาต่อมา แต่เมื่อผ่านไปอีก 30 ปี อู๋ซานกุ้ยกลับก่อกบฏต่อราชวงศ์ชิงขึ้นอีกครั้ง โดยยึดครองดินแดนฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของจีน คือบริเวณมณฑลยูนนานในปัจจุบัน

Go to Top