ประวัติศาสตร์น่ารู้

“หนานซาน” พุทธสถานแดนทักษิณของจีน

2024-12-03T14:07:53+07:00ธันวาคม 3rd, 2024|

“หนานซาน” (南山) สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพุทธมามกะ คือเขตภูเขาที่อยู่ใต้สุดของแผ่นดินจีน เล่าขานกันว่าเป็นดินแดนสิริมงคล บ้างก็อ้างคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่บันทึกไว้ว่า พระโพธิสัตว์กวนอิม (觀音菩薩) เคยตรัสคำปรารถนา 12 ประการ หนึ่งในนั้นคือ “ประทับ ณ ทะเลใต้” (長居南海願) ซึ่งก็คือบริเวณใกล้เคียงเขาหนานซานแห่งนี้

ป้ายบรรพบุรุษ: เครื่องผูกพันใจของทายาทผู้วายชนม์

2024-11-05T11:29:02+07:00พฤศจิกายน 5th, 2024|

ความกตัญญู (孝) ถือเป็นยอดคุณธรรมตามคติลัทธิหรู (儒家) ของขงจื่อ (孔子 551–479 ปีก่อนค.ศ.) ที่ฝังใจผู้คนในสังคมจีน ชาวจีนจึงดูแลปรนนิบัติบุพการียามท่านยังมีลมหายใจ และเซ่นไหว้ยามท่านลาโลกแล้ว ดุจท่านยังไม่จากไปไหน (祭如在) เฉกเช่นการปรนบัติเมื่อครั้งท่านมีชีวิตอยู่ (事死如事生)

บันทึกรักปิ่นม่วง: นาฏกรรมแสนรันทดแต่งดงามตรึงใจ

2024-09-30T14:53:55+07:00กันยายน 30th, 2024|

"บันทึกรักปิ่นม่วง" เป็นบทงิ้วคุนฉี่ว์ที่แต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง โดยนักเขียนบทละครชาวเมืองหลินชวน มณฑลเจียงซี นามทังเสี่ยนจู่ ดัดแปลงโครงเรื่องและเนื้อเรื่องจาก "ตำนานฮั่วเสี่ยวอี้ว์" ที่แต่งโดยเจี่ยงฝางและเป็นบทละครจ๋าจี้ว์ ซึ่งมีอยู่เดิมในสมัยราชวงศ์ถัง ตำนานทั้งสองเรื่องพรรณนาความรักของบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์อย่างหลี่อี้ กวีและขุนนางผู้ใหญ่ กับหญิงสาวนามฮั่วเสี่ยวอี้ว์

“เติ้งสุย” หงส์เหนือมังกรแห่งฮั่นตะวันออก

2024-08-27T13:38:03+07:00สิงหาคม 27th, 2024|

แม้ว่าในสังคมจีนโบราณจะมีสำนวนกล่าวว่า “ถ้าไก่ตัวเมียขันตอนย่ำรุ่ง บ้านเรือนจักมีเรื่องวุ่นวาย” (牝雞司晨,惟家之索) ซึ่งมีความหมายเชิงอุปมาว่า “ถ้าผู้หญิงขึ้นเป็นใหญ่ บ้านเมืองจักระส่ำระสาย” ทว่าในประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ยุคบรรพกาลเป็นต้นมา ก็ปรากฏสตรีมากหน้าหลายตาที่กุมอำนาจ สร้างชาติบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นได้ไม่แพ้บุรุษ

ปานเจา: ยอดกัลยาณี นักประวัติศาสตร์หญิงคนแรกของจีน

2024-08-27T13:40:55+07:00สิงหาคม 27th, 2024|

แม้จะมิได้มีรูปโฉมงามเลิศเยี่ยงไซซี (西施 ราว 503–473 ปีก่อนค.ศ.) และหวังเจาจวิน (王昭君 ราว 54–19 ปีก่อนค.ศ.) แต่ “ปานเจา” (班昭 ราวค.ศ. 49–120) ก็ปรากฏเกียรติคุณโด่งดังอยู่ในประวัติศาสตร์จีน เพราะเป็นยอดกัลยาณีผู้เพียบพร้อมไปด้วยความรู้เป็นเลิศและประเสริฐด้วยจริยาวัตร หาผู้เสมอเหมือนมิได้

‘แพะ’ สัตว์มงคลของจีน

2024-08-14T09:33:09+07:00สิงหาคม 2nd, 2024|

ความเชื่อเรื่องสิริมงคลได้ซึมซาบอยู่ในวิถีชีวิตของชาวจีนอย่างกลมกลืนและแนบแน่นมาช้านาน แม้จะยังไม่สามารถระบุแน่ชัดว่า ความเชื่อเรื่องสิริมงคลของชาวจีนเริ่มต้นขึ้นเมื่อใด มีที่มาอย่างไร แต่มีข้อสันนิษฐานที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า เมื่อมนุษย์เราใฝ่หาความสุข ความงาม และความปลอดภัย ก็ย่อมอยากให้ทุกสิ่งในชีวิตสมหวังดังที่ปรารถนาเป็นธรรมดา ซึ่งเห็นได้จากความเชื่อต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

ภาพเขียนกระจก ศิลปกรรมจีนที่สร้างชื่อเสียงในตลาดยุโรป

2024-08-01T17:16:52+07:00สิงหาคม 1st, 2024|

ศิลปะจีนมีเกียรติประวัติและพัฒนาการมาเนิ่นนาน ทั้งยังได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ไทยเป็นประเทศหนึ่งซึ่งนิยมนำศิลปะจีนมาประยุกต์ใช้กับสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 3 ในบรรดางานศิลปกรรมจีนที่นำมาตกแต่งวัดวาอารามจำนวนมากในรัชกาลดังกล่าวนั้น ภาพเขียนกระจกกลับด้านแบบจีน ถือเป็นงานวิจิตรศิลป์ที่เสริมองค์ประกอบภายในพระอารามให้มีความงดงามยิ่งขึ้น แต่ความเป็นมาของภาพเขียนกระจกเหล่านี้ก็น่าสนใจและควรค่าแก่การเรียนรู้เช่นกัน

“หลิ่มไต่คิม” กับบทบาททางวัฒนธรรมถิ่นแต้จิ๋ว

2024-06-27T22:22:13+07:00มิถุนายน 28th, 2024|

มีนิทานพื้นบ้านหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชะตาชีวิตของหลิ่มไต่คิม (林大欽 หลินต้าชิน ค.ศ. 1511~1545) จอหงวนฝ่ายบุ๋นท่านเดียวในประวัติศาสตร์แต้จิ๋ว (潮州)  และนิทานเหล่านี้ก็เป็นที่มาของสำนวนแต้จิ๋วบางสำนวน รวมถึงประเพณีต่างๆ ที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

“หลิ่มไต่คิม” ยอดจอหงวนแห่งประวัติศาสตร์แต้จิ๋ว

2024-08-05T09:45:08+07:00พฤษภาคม 29th, 2024|

นับแต่ระบบการสอบคัดเลือกข้าราชการแบบเคอจี่ว์ เริ่มมีขึ้นในสมัยราชวงศ์สุย จนถึงการจัดสอบครั้งสุดท้ายในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งกินระยะเวลาราว 1,300 ปี  หากอ้างอิงตามหลักฐานประวัติศาสตร์ที่ยังคงเหลืออยู่ให้สืบค้น มีบัณฑิตผู้สอบได้จอหงวนทั้งหมด 592 คน หนึ่งในนั้น คือ “หลิ่มไต่คิม”

“ลูกหมู” การค้าแรงงานจีนไปต่างประเทศ

2024-05-13T13:51:14+07:00พฤษภาคม 13th, 2024|

คำว่า “ลูกหมู” (豬仔) มาจากไหน มีที่มาอย่างไร เหตุใดจึงมีประเด็นโยงใยไปถึงการค้าแรงงานจีนไปต่างประเทศได้ แม้แต่ในปัจจุบันยังปรากฏคำว่า “ลูกหมู” หรือ “แก๊งลูกหมู” (豬仔帮) บนหน้าหนังสือพิมพ์ยามที่กล่าวถึงเหล่ามิจฉาชีพชาวจีน ซึ่งเป็นถ้อยคำที่แฝงไปด้วยความหมายเชิงลบและการดูถูกดูแคลน

Go to Top