billdechawat

About billdechawat

This author has not yet filled in any details.
So far billdechawat has created 34 blog entries.

“เติ้งสุย” หงส์เหนือมังกรแห่งฮั่นตะวันออก

2024-08-27T13:38:03+07:00สิงหาคม 27th, 2024|

แม้ว่าในสังคมจีนโบราณจะมีสำนวนกล่าวว่า “ถ้าไก่ตัวเมียขันตอนย่ำรุ่ง บ้านเรือนจักมีเรื่องวุ่นวาย” (牝雞司晨,惟家之索) ซึ่งมีความหมายเชิงอุปมาว่า “ถ้าผู้หญิงขึ้นเป็นใหญ่ บ้านเมืองจักระส่ำระสาย” ทว่าในประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ยุคบรรพกาลเป็นต้นมา ก็ปรากฏสตรีมากหน้าหลายตาที่กุมอำนาจ สร้างชาติบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นได้ไม่แพ้บุรุษ

ปานเจา: ยอดกัลยาณี นักประวัติศาสตร์หญิงคนแรกของจีน

2024-08-27T13:40:55+07:00สิงหาคม 27th, 2024|

แม้จะมิได้มีรูปโฉมงามเลิศเยี่ยงไซซี (西施 ราว 503–473 ปีก่อนค.ศ.) และหวังเจาจวิน (王昭君 ราว 54–19 ปีก่อนค.ศ.) แต่ “ปานเจา” (班昭 ราวค.ศ. 49–120) ก็ปรากฏเกียรติคุณโด่งดังอยู่ในประวัติศาสตร์จีน เพราะเป็นยอดกัลยาณีผู้เพียบพร้อมไปด้วยความรู้เป็นเลิศและประเสริฐด้วยจริยาวัตร หาผู้เสมอเหมือนมิได้

‘แพะ’ สัตว์มงคลของจีน

2024-08-14T09:33:09+07:00สิงหาคม 2nd, 2024|

ความเชื่อเรื่องสิริมงคลได้ซึมซาบอยู่ในวิถีชีวิตของชาวจีนอย่างกลมกลืนและแนบแน่นมาช้านาน แม้จะยังไม่สามารถระบุแน่ชัดว่า ความเชื่อเรื่องสิริมงคลของชาวจีนเริ่มต้นขึ้นเมื่อใด มีที่มาอย่างไร แต่มีข้อสันนิษฐานที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า เมื่อมนุษย์เราใฝ่หาความสุข ความงาม และความปลอดภัย ก็ย่อมอยากให้ทุกสิ่งในชีวิตสมหวังดังที่ปรารถนาเป็นธรรมดา ซึ่งเห็นได้จากความเชื่อต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

ภาพเขียนกระจก ศิลปกรรมจีนที่สร้างชื่อเสียงในตลาดยุโรป

2024-08-01T17:16:52+07:00สิงหาคม 1st, 2024|

ศิลปะจีนมีเกียรติประวัติและพัฒนาการมาเนิ่นนาน ทั้งยังได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ไทยเป็นประเทศหนึ่งซึ่งนิยมนำศิลปะจีนมาประยุกต์ใช้กับสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 3 ในบรรดางานศิลปกรรมจีนที่นำมาตกแต่งวัดวาอารามจำนวนมากในรัชกาลดังกล่าวนั้น ภาพเขียนกระจกกลับด้านแบบจีน ถือเป็นงานวิจิตรศิลป์ที่เสริมองค์ประกอบภายในพระอารามให้มีความงดงามยิ่งขึ้น แต่ความเป็นมาของภาพเขียนกระจกเหล่านี้ก็น่าสนใจและควรค่าแก่การเรียนรู้เช่นกัน

สะพานกว่างจี้

2024-07-10T10:16:33+07:00กรกฎาคม 10th, 2024|

สะพานกว่างจี้ (广济桥) หรือสะพานเซียงจื่อ (湘子桥) ตั้งอยู่ทางประตูทิศตะวันออกของเมืองโบราณแต้จิ๋ว (潮州古城)[1] เป็นสะพานข้ามแม่น้ำหั่งกัง (韩江 หานเจียง) ซึ่งเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญของพื้นที่แต้จิ๋ว

“หลิ่มไต่คิม” กับบทบาททางวัฒนธรรมถิ่นแต้จิ๋ว

2024-06-27T22:22:13+07:00มิถุนายน 28th, 2024|

มีนิทานพื้นบ้านหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชะตาชีวิตของหลิ่มไต่คิม (林大欽 หลินต้าชิน ค.ศ. 1511~1545) จอหงวนฝ่ายบุ๋นท่านเดียวในประวัติศาสตร์แต้จิ๋ว (潮州)  และนิทานเหล่านี้ก็เป็นที่มาของสำนวนแต้จิ๋วบางสำนวน รวมถึงประเพณีต่างๆ ที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

ทำไมจึงเรียก “เสี่ยวเอ้อร์” ?

2024-06-09T00:01:25+07:00มิถุนายน 5th, 2024|

เสี่ยวเอ้อร์” (小二) หมายถึง บริกรเพศชายตามโรงเตี๊ยม โรงน้ำชา หรือศาลาพักม้า โดยรูปศัพท์ คำว่า “เสี่ยวเอ้อร์ จะแปลว่า “ลำดับที่สอง” ซึ่งดูแล้วก็ไม่น่าจะมีอะไรเกี่ยวข้องกับบริกรเลย แต่การเรียกขานเช่นนี้ก็เนื่องมาแต่จีนสมัยโบราณ การเรียกชื่อเสียงเรียงนามจะมีใช้กันก็แต่ในหมู่ขุนนางและชนชั้นสูงที่มีการศึกษาเท่านั้น

“หลิ่มไต่คิม” ยอดจอหงวนแห่งประวัติศาสตร์แต้จิ๋ว

2024-08-05T09:45:08+07:00พฤษภาคม 29th, 2024|

นับแต่ระบบการสอบคัดเลือกข้าราชการแบบเคอจี่ว์ เริ่มมีขึ้นในสมัยราชวงศ์สุย จนถึงการจัดสอบครั้งสุดท้ายในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งกินระยะเวลาราว 1,300 ปี  หากอ้างอิงตามหลักฐานประวัติศาสตร์ที่ยังคงเหลืออยู่ให้สืบค้น มีบัณฑิตผู้สอบได้จอหงวนทั้งหมด 592 คน หนึ่งในนั้น คือ “หลิ่มไต่คิม”

เจ้าแม่มาจู่ เทพธิดาแห่งท้องทะเล (海神妈祖)

2024-05-29T11:01:21+07:00พฤษภาคม 16th, 2024|

หากกล่าวถึงชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มแรกๆ ที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ชาวฮกเกี้ยนคงเป็นกลุ่มหนึ่งที่หลายคนนึกถึง ชาวจีนกลุ่มนี้อพยพเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนใหญ่มีบทบาทสำคัญทางการค้า นอกจากความเจริญรุ่งเรืองทางการค้าและความสัมพันธ์ทางการทูตแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ชาวจีนโพ้นทะเลเหล่านี้นำติดตัวเข้ามาด้วย และมีอิทธิพลต่อชนพื้นเมืองในภายหลังก็คือ “วัฒนธรรม”

สุสานพระเจ้าตากสิน ณ เถ่งไฮ่

2024-05-14T16:21:58+07:00พฤษภาคม 14th, 2024|

พิพิธภัณฑสถานมณฑลยูนนาน (云南省博物馆) เป็นสถานที่รวบรวมวัตถุโบราณนานาชนิด อีกทั้งยังจัดแสดงสิ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณชนและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ

Go to Top