เหตุใดชาวจีนจึงเรียกตนเองว่า “ลูกหลานของมังกร”?
หลายคนเข้าใจว่ามังกรเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติจีน จึงเรียกประเทศจีนว่า ‘แผ่นดินมังกร’ หรือแม้แต่ชาวจีนเองก็เรียกตัวเองว่า ‘龙的传人’ ซึ่งหลายคนแปลว่า ‘ลูกหลานของมังกร’
หลายคนเข้าใจว่ามังกรเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติจีน จึงเรียกประเทศจีนว่า ‘แผ่นดินมังกร’ หรือแม้แต่ชาวจีนเองก็เรียกตัวเองว่า ‘龙的传人’ ซึ่งหลายคนแปลว่า ‘ลูกหลานของมังกร’
จุดเด่นของอารยธรรมหลงซานคือ ‘เครื่องปั้นดินเผาดำ’ (黑陶) ที่มีความบาง แข็งแรง ทนทาน และเป็นเงางาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องปั้นดินเผาดำเปลือกไข่ (蛋殼黑陶) ซึ่งพบที่เมืองยรื่อเจ้า (日照) และจี่หนาน (濟南) ด้วยเหตุนี้อารยธรรมหลงซานจึงมีอีกชื่อว่า ‘อารยธรรมเครื่องปั้นดินเผาดำ’ (黑陶文化)
สมัยโบราณไม่มีผู้ชายอยู่ในในพระราชวังนอกจากจักรพรรดิ ผู้ชายที่เหลือก็ถูกตอนจนกลายเป็นขันที จึงมีผู้สงสัยว่าองครักษ์ผู้รักษาความปลอดภัย มีร่างกายกำยำล่ำสันต้องถูกตอนหรือไม่
อารยธรรมหย่างเสา (仰韶文化) เป็นอารยธรรมยุคหินใหม่ของผู้คนในแถบตอนกลางของลุ่มแม่น้ำฮวงโห (黃河) ซึ่งอยู่ระหว่างมณฑลกานซู่ (甘肅省) กับมณฑลเหอหนาน (河南省) ในปัจจุบัน อารยธรรมนี้อยู่ในช่วงเวลาราว 5000-3000 ปีก่อนคริสต์ศักราช แบ่งได้เป็น 3 ช่วงย่อยคือ ช่วงต้น (ราว 5000-4900 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ช่วงกลาง (ราว 4900-3500 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ช่วงปลาย (ราว 3500-2900 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มีเอกลักษณ์คือมีการปั้นเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี (彩陶)
รู้หรือไม่… ตามท้องเรื่อง ‘หนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า’ พระเอกนามว่าหนิวหลาง (牛郎) นั้น ไม่ได้เลี้ยงวัวเพียงอย่างเดียว และตัว ‘牛’ ที่เขาเลี้ยงไว้ตั้งแต่เด็กและกลายเป็นเพื่อนคู่ใจของเขาในภายหลังนั้น แท้จริงอาจจะเป็น ‘ควาย’ !
ปกติเราเขียนและอ่านหนังสือจากทางซ้ายไปทางขวา แต่คนจีนในสมัยโบราณจะเขียนและอ่านหนังสือจากขวาไปซ้าย มีเหตุผล 3 ประการ ได้แก่ 1. ลักษณะหนังสือของยุคโบราณ 2. วิธีการเขียนและอ่านหนังสือของคนยุคโบราณ 3. อักษรจีนในยุคแรกเริ่มมีลักษณะเป็นอักษรภาพ ซึ่งไม่ใช่การสะกดคำ
หากพูดถึงบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จีนอย่างขงจื่อ (孔子) เหลาจื่อ (老子) เมิ่งจื่อ (孟子) หรือแม้แต่สวินจื่อ (荀子) เชื่อว่าคนไทยหลายต่อหลายคนคงได้ยินผ่านหูมาบ้าง แต่มีบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จีนอีกท่านหนึ่งที่ยังไม่ค่อยปรากฏสู่สายตาคนไทยและยังไม่ค่อยได้รับการพูดถึงเท่าใดนัก นั่นก็คือ ก่วนจ้ง (管仲) หรือก๋วนจื่อ (管子)
‘หลักคุณธรรมค้ำจุนรัฐทั้งสี่’ (国之四维) ได้รับการบันทึกไว้ในบท ‘มู่หมิน’ (牧民) ซึ่งเป็นบทแรกในตำรา ‘ก๋วนจื่อ’ (管子) อันเป็นตำราที่อนุชนได้รวบรวมภูมิปัญญาความคิดของก่วนจ้ง (管仲 มหาเสนาบดีสมัยชุนชิว) เอาไว้ ตำราเล่มนี้มีเนื้อหาครอบคลุมหลากหลายด้าน ทั้งเรื่องการปกครองบ้านเมือง การวางระบบกฎหมาย การจัดระเบียบสังคม และการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งยังสอดแทรกแนวคิดของลัทธิขงจื๊อ (儒家) ลัทธิเต๋า (道家) และลัทธินิติธรรมนิยม (法家) เข้าไว้อีกด้วย
เมื่อกล่าวถึง ‘ขันที’ เรามักนึกถึงชายชาวจีนที่ถูกตอนอวัยวะเพศ และคอยปรนนิบัติรับใช้อยู่ภายในวังหลวงจีนสมัยโบราณ น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในประวัติศาสตร์จีนไม่ได้มีเพียงเพียงชายชาวจีนเท่านั้น แต่ยังมีขันทีต่างชาติอีกจำนวนหนึ่งที่ถูกส่งตัวมาจากแคว้นน้อยใหญ่เสมือนทูตบรรณาการเพื่อแสดงความสวามิภักดิ์และความสัมพันธ์อันดีกับอาณาจักรจีนผู้ยิ่งใหญ่
การมีบุตรจำนวนมากเพื่อดำรงไว้ซึ่งวงศ์ตระกูลถือเป็นค่านิยมสำคัญของคนจีนมาแต่โบราณ ทว่าในสมัยก่อนวิทยาการด้านการแพทย์ยังค่อนข้างล้าหลัง อัตราการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากภาวะคลอดยากจึงอยู่ในระดับสูง ทารกหลายคนต้องสิ้นชีวิตลงก่อนลืมตาดูโลก ยิ่งกว่านั้นค่านิยมการแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยทำให้ร่างกายไม่พร้อมสำหรับการมีบุตร