—–จากค่านิยมเรื่องความงามของผู้หญิงบางกลุ่มกลายเป็นธรรมเนียมที่นิยมไปในวงกว้าง เมื่อสืบหาที่มาของ ——-พวกเธอทำเช่นนี้เพื่อตอบสนองความชอบวิปริตของผู้ชาย ซึ่งบ่มเพาะจากภูมิความคิดอคติต่อผู้หญิงทีละนิดๆ เนื่องจากขาดการใช้ดุลพินิจอย่างสมเหตุสมผลในเรื่องความเสมอภาคระหว่างหญิงกับชาย จึงนำไปสู่การนิยามความงามแบบผิดเพี้ยนขึ้นมา เหล่าบัณฑิตยุคศักดินาโหมโรงกันด้วยบทกวีสรรเสริญความงามของเท้าเล็ก โน้มน้าวใจจน ——-ประเพณีการมัดเท้าแรกก่อร่างขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง สืบทอดต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน และเข้าสู่ยุคที่คลั่งไคล้ใหลหลงจนไม่ลืมหูลืมตาหลังสมัยราชวงศ์หมิง ในช่วงที่การมัดเท้าได้รับความนิยมสูงสุด การมีเท้าเล็กถือเป็นเครื่องบ่งชี้สถานะทางสังคมของกุลสตรีได้เป็นอย่างดี ——-บุคคลที่มัดเท้าให้เด็กสาวคือมารดาผู้เคยผ่านประสบการณ์อันเจ็บปวดเช่นเดียวกันมาก่อน ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้บุตรสาวมี ‘บัวทองสามนิ้ว’ (三寸金蓮) ไว้ประจำตัว ก่อนอื่นต้องจัดเตรียมสิ่งของที่จําเป็นสำหรับการมัดเท้า ได้แก่ ——-นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับการมัดเท้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจํากัดการเติบโตของเท้า ยิ่งมัดเท้าตั้งแต่อายุยิ่งน้อยยิ่งดี แต่ถ้าอายุน้อยเกินไปก็ไม่สมควร เพราะอาจทำให้พิการจนเดินไม่ได้ตลอดชีวิต ดังนั้นเมื่อเด็กผู้หญิงเดินได้มั่นคงแล้วจึงเริ่มมัดเท้า อายุเฉลี่ยประมาณ 4-5 ขวบ ตามประเพณีของแต่ละพื้นที่ ขั้นตอนการมัดเท้าในเด็ก ——-เนื่องจากการมัดเท้าทำให้ร้อนและมีเหงื่อออก จึงนิยมเริ่มต้นกันในช่วงอากาศเย็น คือ ฤดูใบไม้ร่วง ตามบันทึก ‘ชิงเจียลู่’ (清嘉錄) โดยกู้เถี่ยชิง (顧鐵卿) แห่งราชวงศ์ชิงกล่าวว่า ในวันที่ 24 เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านพากันหุง ภาพเด็กที่มัดเท้า ค่านิยมที่ฝังหัว ——-สิ่งที่น่าประหลาดใจคือ แม้ว่าในประวัติศาสตร์อันยาวนานจะมีบางช่วงเวลาที่ชนชั้นปกครองไม่เห็นด้วยกับ ——-ขณะเดียวกันก็มีผู้ชายใจสูงส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อผู้หญิงอยู่เป็นนิจ เพียงแต่ไม่มีน้ำหนักพอที่จะต้านกระแสสังคมได้ ขุนนางเชอรั่วสุ่ย (車若水 ค.ศ. 1209-1275) บันทึกในเรื่อง ‘รวมโรคเท้า’ ——-สตรีที่ปล่อยเท้าตามธรรมชาติมักถูกตั้งแง่ว่าสถานะครอบครัวยากจน หรือครอบครัวเลี้ยงดูไม่ดี แม้แต่พระมเหสีหม่า (馬皇后 ค.ศ. 1332-1382) มเหสีองค์โปรดของจูหยวนจาง (朱元璋 ค.ศ. 1328-1398) ปฐมจักรพรรดิแห่ง พระมเหสีหม่า ปลดเปลื้องพันธนาการ ——-การมัดเท้าของผู้หญิงจีนดำเนินมาจนถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สังคมจีนขณะนั้นกำลังตื่นตัวในการปฏิรูปสังคมอย่างเต็มรูปแบบด้วยอิทธิพลของแนวความคิดตะวันตก เริ่มมีเสียงเรียกร้องให้ผู้หญิงพ้นจากความเป็นทาสและยกเลิกการมัดเท้าอย่างจริงจัง ถือว่าเป็นผลพวงของการโค่นล้มราชวงศ์ชิงในเหตุการณ์ปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命) และขบวนการวัฒนธรรมใหม่ 4 พฤษภาคม (五四新文化運動) อันเป็นการเคลื่อนไหวของสังคมจีนซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ความคิดแบบจีนโบราณและส่งเสริมวัฒนธรรมจีนแผนใหม่ตามอุดมคติตะวันตก ——-เมื่อมิชชันนารีชาวตะวันตกเข้ามาในจีนมากขึ้น ส่วนใหญ่มักใช้วิธีการรักษาโรคเป็นช่องทางปฏิบัติงานเพื่อเผยแผ่ศาสนา ดังนั้นการมัดเท้าในสังคมจีนจึงเป็นที่สังเกตและศึกษาในแง่ของการเยียวยาสุขภาพร่างกาย นอกจากนี้ยังมีชาวตะวันตกอีกหลายคนพยายามโน้มน้าวและเปลี่ยนแปลงความคิดให้ผู้หญิงจีนยกเลิกการมัดเท้า หนึ่งในนั้นที่ชาวจีนบันทึกชื่อของเธอไว้ในหน้าประวัติศาสตร์จีน คือ อาร์ชิบัลด์ ลิตเติ้ล (Archibald Little) หรือมาดามลี่เต๋อ (立德夫人) ผู้รณรงค์ต่อต้านการมัดเท้าและพยายามเรียกร้องให้ผู้ชายจีนแสดงบทบาทผลักดันให้สังคมจีนยกเลิกธรรมเนียมโบราณนี้ มาดามลี่เต๋อ อาร์ชิบัลด์ ลิตเติ้ล เดินทางไปจีนครั้งแรกในฐานะภรรยาของนักธุรกิจชาวอังกฤษนามว่าลี่เต๋อ ต่อมาเธอกลายเป็นนักเขียนมีชื่อเสียงโด่งดังในอังกฤษ เขียนหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับประเทศจีน เช่น ‘ประเทศที่สวมชุดคลุมสีน้ำเงิน’ 《穿藍色長袍的國度》 ‘การแต่งงานในเมืองจีน’ 《在中國的婚事》 ‘เมืองจีนที่คุ้นเคย’ 《熟悉的中國》 ‘คู่มือปักกิ่ง’ 《北京指南》 ‘หลี่ หงจาง,ยุคและชีวประวัติของเขา’ 《李鴻章,他的生平和時代》 ——-มาดามลี่เต๋อเห็นความเจ็บปวดและอันตรายจากการมัดเท้าของผู้หญิงจีน เธอรู้สึกเสียใจและเคยกล่าวถ้อยคำที่น่าสะเทือนใจว่า “ไม่เพียงผู้หญิงมีจำนวนถึงครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด พวกเธอยังทำหน้าที่เลี้ยงดูผู้คนอีกครึ่งหนึ่งในฐานะมารดา คนเหล่านี้ต้องใช้ชีวิตอยู่กับมารดาผู้ให้กำเนิดซึ่งร่างกายไม่สมบูรณ์ ไม่มีความรู้ ไม่ได้รับการศึกษา และเจ็บป่วยออดๆ แอดๆ ตลอดเวลา การเลี้ยงดูบุตรอย่างด้อยคุณภาพเช่นนี้ หมักหมมมาเนิ่นนาน” ด้วยเหตุนี้เธอจึงใช้ความพยายามและมีส่วนสนับสนุนอย่างมากเพื่อผลักดันให้ผู้หญิงจีนเลิกพฤติกรรมมัดเท้าของตนเอง ——-เธออุทิศแรงกายแรงใจและทรัพย์สมบัติเป็นจำนวนมาก เพื่อรณรงค์ให้หญิงจีนเลิกความเคยชินในการมัดเท้า เมื่อท้าวความถึงการทุ่มเทอย่างหาญกล้าเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั้น เธอกล่าวว่า “ถ้าคุณจำความรู้สึกครั้งแรกที่เหยียบลงไปในน้ำอันเย็นเฉียบเมื่อคุณยังเป็นเด็กได้ คุณก็จะเข้าใจความมุ่งมั่นอดทนของฉันเมื่อฉันเดินทางลงใต้เพื่อต่อต้านการมัดเท้าในจีน” แม้ว่ากลัวเพียงใดแต่เธอก็ไม่ลังเลที่จะย่างเท้าบนทะเลน้ำแข็ง เฉกเช่นที่เธอตระเวนไปทั่วทุกพื้นที่ของจีนตอนใต้ในช่วงเวลาไม่กี่ปี เอาชนะความยากลำบากต่างๆ จัดการชุมนุม การบรรยายให้ความรู้และอธิบายผลเสียต่อผู้หญิงหรือแม้แต่ประเทศชาติให้แก่ผู้หญิงจีนทั้งในชนบทและหัวเมืองต่างๆ เช่น อู่ชาง (武昌), ฮั่นหยาง (漢陽), ฮั่นโข่ว (漢口), กวางตุ้ง (廣東), ฮ่องกง (香港), มาเก๊า (澳门), ซัวเถา (汕頭), เซียะเหมิน (廈門), ฝูโจว ——-มาดามลี่เต๋อตระหนักดีถึงความสำคัญของการใช้อำนาจในสังคมจีน จึงพยายามอย่างเต็มกำลังเพื่อขอการสนับสนุนจากขุนนางระดับสูง เธอเคยเข้าพบจางจือต้ง (張之洞 ค.ศ. 1837-1909) มหาบัณฑิตแห่งราชวงศ์ชิงเพื่อโน้มน้าวใจ ขอให้ท่านช่วยเขียนข้อความสนับสนุนการไม่มัดเท้าของผู้หญิงจีน หลังจากนั้นยังระดมคนช่วยกันคัดลอกข้อความของมหาบัณฑิตจางไว้บนแผ่นกระดาษสีแดง นำไปติดในที่ชุมนุมหรือแสดงให้ข้าราชการจีนผู้ชายที่ชอบล้อเลียนเธอดู ซึ่งก็ได้ผลดีมาก นอกจากนี้ มาดามลี่เต๋อยังขอเข้าพบหลี่หงจาง (李鴻章 ค.ศ. 1823-1901) ขุนนาง จางจือตัง ——-แน่นอนว่ายังมีมิชชันนารีชาวต่างชาติและชาวจีนหัวใหม่อีกหลายคนซึ่งใช้ความพยายามเรียกร้องและแสดงบทบาทผลักดันให้สังคมจีนยกเลิกธรรมเนียมการมัดเท้า แต่ในฐานะผู้ริเริ่มขบวนการเพื่อการไม่มัดเท้าของผู้หญิงจีน มาดามลี่เต๋อย่อมมีคุณูปการต่อการปลดพันธนาการจากประเพณีที่ล้าหลังอย่างไม่ต้องสงสัย กระทั่งผู้ว่าฝูโจวในเวลานั้นถึงกับยกย่องให้เธอเป็นเหมือนพระโพธิสัตว์กวนอิม ด้วยถ้อยคำสดุดีว่า ‘คนจีนเคยมีเจ้าแม่กวนอิมเพียงองค์เดียว แต่ตอนนี้มีถึงสององค์ เธอคือเจ้าแม่กวนอิมองค์ที่สอง’ ——-อย่างไรก็ตาม สังคมจีนกว่าจะปลดผ้าพันเท้าของผู้หญิงออกได้ก็ต้องใช้เวลาช้านาน ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลความเจริญ ยังมีผู้หญิงมัดเท้าถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติจากรุ่นสู่รุ่น โดยไม่สนใจพัฒนาการของโลกภายนอก กระทั่ง ——-หญิงจีนถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมอันทารุณเช่นนี้เป็นเวลากว่าพันปี ทิ้งมูลเหตุปริศนาหลายประเด็นที่ชวนสงสัยและขบคิดต่อไป เช่น สิทธิของปัจเจกบุคคล การควบคุมทางสังคม จิตสำนึกของมนุษย์ที่มีต่อการนิยามคุณค่าของความงาม รวมไปถึงการกำหนดบทบาทผู้หญิงสำหรับครอบครัวและสังคมอีกด้วย ในปัจจุบันเราก็ยังพบบรรดาหญิง เรื่องโดย หงส์ป่า
การมัดเท้าซึ่งถูกมองว่าเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์เฉพาะสังคมจีนยุคศักดินา สันนิษฐานว่าความตั้งใจเดิมคงไม่ได้มุ่งทำร้ายร่างกายผู้หญิง แต่เป็นการแสวงหาความงามของผู้หญิงบางกลุ่ม เช่น เหล่านางรำ นางกำนัลในพระราชวัง ฯลฯ
คนส่วนใหญ่ในสังคมมองเรื่องผิดปกติให้เป็นเรื่องดี ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ทางสังคมของผู้หญิงตกต่ำลง ซ้ำร้ายยังเป็นการทำลายเท้าของผู้หญิงในเชิงกายภาพอย่างไม่น่าเชื่อ
ประเพณีการมัดเท้า
วิธีการมัดเท้า
ข้าวเหนียวและต้มถั่วแดงแล้วนำมาปั้นให้เป็นก้อนกลม เพื่อเซ่นไหว้เทพเจ้าเตาไฟ ส่วนหญิงสาวทุกครัวเรือนเลือก
วันดังกล่าวมัดเท้า เพราะเชื่อกันว่าเมื่อรับประทานอาหารชนิดนี้แล้วจะทำให้กระดูกอ่อนนุ่ม และมัดเท้าได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าในการมัดเท้าต้องกราบไหว้บูชาเจ้าแม่เท้าเล็ก ซึ่งเกิดตรงกับวันที่ 24 เดือน 8 ถ้าพลาด
วันเกิดเจ้าแม่เท้าเล็กก็ต้องเปิดปฏิทินโหราศาสตร์จีน (老黃曆) เพื่อหาวันที่มีฤกษ์ดีสำหรับการมัดเท้า
การมัดเท้าถึงขั้นออกคำสั่งห้ามพฤติกรรมเช่นนี้ แต่ผู้หญิงจำนวนมากยังคงบูชาค่านิยมดังกล่าวและเจริญรอยตามอย่างแน่วแน่ พวกเธอยังคงมัดเท้าอย่างพิถีพิถันจริงจังโดยไม่แยแสว่าเป็นการถูกจำกัดเสรีภาพทางความคิดและ
การกระทำ ทั้งที่ต้องรับรู้และอดทนต่อความทุกข์ทรมานแสนสาหัสอันเกิดจากความเจ็บปวดทางร่างกายอยู่ทุกวี่วัน
(腳氣集) ไว้ว่า “ประเพณีการมัดเท้าของผู้หญิงเริ่มตั้งแต่เมื่อไรไม่อาจระบุได้ชัด แต่เด็กที่อายุยังไม่ครบสี่หรือห้าขวบ ที่ไม่รู้เรื่องหรือทำความผิดอะไรต้องทนทุกข์ทรมานอย่างไร้ขีดจํากัด…”
ราชวงศ์หมิง (明 ค.ศ. 1368-1644) ยังถูกชาวบ้านนินทาและตั้งฉายาล้อเรียนว่า ‘ฮองเฮาเท้าโต’ (大腳皇后) สังคมจีนในสมัยราชวงศ์ชิงถูกปกครองโดยชาวแมนจู ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในชนเผ่าที่รบบนหลังม้า ชนชั้นปกครองเชื่อว่าการมัดเท้าเป็นธรรมเนียมที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย ราชสำนักชิงเคยออกกฎหลายฉบับเพื่อสั่งห้ามผู้หญิงมัดเท้า แต่ก็ทำได้เพียงไม่ให้ผู้หญิงชาวแมนจูมัดเท้า ประชาชนชาวฮั่นทั่วไปยังคงปฏิบัติกันตามธรรมเนียมเหมือนเดิม
‘สวนดอกไม้ของฉันที่ปักกิ่ง’《我的北京花園》 เป็นต้น
(福州), หางโจว (杭州), ซูโจว (蘇州) ฯลฯ จากการเรียกร้องของเธอ ผู้หญิงบางคนยอมถอดผ้าพันเท้าออกและ
เข้าร่วมการเคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อการไม่มัดเท้า (天足運動)
ขั้นหนึ่งและผู้บัญชาการทหารช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิง แม้ว่าถูกปฏิเสธแต่เธอก็ไม่ละทิ้งความพยายาม จนขอข้อความของท่านผู้บัญชาการทหารมาเป็นที่ระลึกได้สำเร็จ ถือเป็นหลักประกันความปลอดภัยให้แก่การเคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อการไม่มัดเท้าของผู้หญิงจีน
ถูกรัฐบาลของพรรคคอมมิวนิสต์ประกาศสั่งห้ามเด็ดขาด หลังจากสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1949 จึงเป็นอันยุติธรรมเนียมโบราณนี้อย่างจริงจัง
สูงอายุที่มัดเท้า เดินเหินด้วยความยากลําบากตามถนนหนทางหรือในชนบทได้บ้าง พวกเธอคือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ยังมีชีวิตอยู่ อีกทั้งเป็นพยานหลักฐานซึ่งแสดงถึงชะตากรรมอันขมขื่นของเพศหญิงที่ถูกกดขี่ด้วยค่านิยมอันโหดร้าย