จอหงวน

บันทึกรักปิ่นม่วง: นาฏกรรมแสนรันทดแต่งดงามตรึงใจ

2024-09-30T14:53:55+07:00กันยายน 30th, 2024|

"บันทึกรักปิ่นม่วง" เป็นบทงิ้วคุนฉี่ว์ที่แต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง โดยนักเขียนบทละครชาวเมืองหลินชวน มณฑลเจียงซี นามทังเสี่ยนจู่ ดัดแปลงโครงเรื่องและเนื้อเรื่องจาก "ตำนานฮั่วเสี่ยวอี้ว์" ที่แต่งโดยเจี่ยงฝางและเป็นบทละครจ๋าจี้ว์ ซึ่งมีอยู่เดิมในสมัยราชวงศ์ถัง ตำนานทั้งสองเรื่องพรรณนาความรักของบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์อย่างหลี่อี้ กวีและขุนนางผู้ใหญ่ กับหญิงสาวนามฮั่วเสี่ยวอี้ว์

“หลิ่มไต่คิม” กับบทบาททางวัฒนธรรมถิ่นแต้จิ๋ว

2024-06-27T22:22:13+07:00มิถุนายน 28th, 2024|

มีนิทานพื้นบ้านหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชะตาชีวิตของหลิ่มไต่คิม (林大欽 หลินต้าชิน ค.ศ. 1511~1545) จอหงวนฝ่ายบุ๋นท่านเดียวในประวัติศาสตร์แต้จิ๋ว (潮州)  และนิทานเหล่านี้ก็เป็นที่มาของสำนวนแต้จิ๋วบางสำนวน รวมถึงประเพณีต่างๆ ที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

“หลิ่มไต่คิม” ยอดจอหงวนแห่งประวัติศาสตร์แต้จิ๋ว

2024-08-05T09:45:08+07:00พฤษภาคม 29th, 2024|

นับแต่ระบบการสอบคัดเลือกข้าราชการแบบเคอจี่ว์ เริ่มมีขึ้นในสมัยราชวงศ์สุย จนถึงการจัดสอบครั้งสุดท้ายในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งกินระยะเวลาราว 1,300 ปี  หากอ้างอิงตามหลักฐานประวัติศาสตร์ที่ยังคงเหลืออยู่ให้สืบค้น มีบัณฑิตผู้สอบได้จอหงวนทั้งหมด 592 คน หนึ่งในนั้น คือ “หลิ่มไต่คิม”

หลากหลายความหมายของคำว่า ‘เทียน’ (天)

2024-06-28T15:29:23+07:00กุมภาพันธ์ 29th, 2024|

สืบเนื่องจากจดหมายข่าวอาศรมสยาม-จีนวิทยา ฉบับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ลำดับที่ 250 (เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566) ได้นำเสนอบทความเรื่อง ‘ถอดรหัสความหมายมงคลชื่ออาหารจีน’ เนื้อหาตอนต้นของบทความมีการอ้างถึงสำนวนจีน ‘民以食为天’ ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า ราษฎรถือว่าปากท้องสำคัญเทียมฟ้า ในเวลาต่อมา อาจารย์ถาวร สิกขโกศล ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษาได้กรุณาให้คำแนะนำเกี่ยวกับสำนวนจีนดังกล่าวว่า หมายถึง 'ราษฎรดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร' เพราะอักษร 天 tiān (เทียน) มีหลายความหมาย มิได้แปลว่า ‘ฟ้า’ เพียงอย่างเดียว

เคอจี่ว์: การสอบคัดเลือกข้าราชการในจีนสมัยโบราณ (2)

2024-02-29T10:18:38+07:00กุมภาพันธ์ 29th, 2024|

ปัจจุบัน แม้ “ระบบการสอบคัดเลือกข้าราชการแบบเคอจี่ว์” จะถูกยกเลิกมากว่า 100 ปีแล้ว แต่ระบบการสอบซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในองคาพยพของสังคมจีนสมัยโบราณนี้ก็ยังคงมีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นกรณีศึกษาในวงวิชาการ นักวิชาการบางกลุ่มมองว่า การสอบเข้ารับราชการแบบเคอจี่ว์ เป็นต้นแบบของระบบการคัดเลือกบุคคลที่ใช้กันในปัจจุบัน

วิเคราะห์การใช้คำอวยพรปีมังกร

2024-02-09T00:51:51+07:00กุมภาพันธ์ 1st, 2024|

ในคติความเชื่อของจีน ‘มังกร’ (龙 lóng) เป็นสัตว์วิเศษที่แปลงร่างได้ บินขึ้นฟ้าได้ มุดลงดินหรือดำน้ำลึกได้ สามารถปรับตัวได้ในหลายสถานการณ์ มีอิทธิฤทธิ์เกี่ยวข้องกับฟ้าฝนน้ำและไฟ รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์แทนอำนาจจักรพรรดิ ความสูงส่ง และเกียรติยศในวัฒนธรรมจีน นอกจากนี้ ศาสตร์ฮวงจุ้ยยังกำหนดให้ มังกรคราม (青龙 qīng lóng) เป็นสัตว์ประจำทิศตะวันออก มีสถานะเทียบเท่าเทพเจ้าในลัทธิเต๋า สามารถปัดเป่าความชั่วร้ายและพลังลบต่างๆ พร้อมนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง อายุยืนยาว โชคลาภวาสนาได้อีกด้วย

เคอจี่ว์: การสอบคัดเลือกข้าราชการในจีนสมัยโบราณ (1)

2024-02-29T10:15:08+07:00มกราคม 30th, 2024|

เคอจี่ว์ (科舉) หรือที่คนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า “การสอบจอหงวน” (考狀元) คือการทดสอบความรู้ความสามารถด้วยการแข่งขันเพื่อคัดเลือกบัณฑิตชั้นยอดเข้าสู่ระบบราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งขุนนางโดยจักรพรรดิ แม้ว่าทุกวันนี้ระบบการสอบดังกล่าวจะถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ก็ยังคงถือเป็นระบบการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการที่สำคัญและหยั่งรากลึกในสังคมจีนมาอย่างยาวนาน

Go to Top