ประเพณีจีน

“ถังหูหลู” ขนมยอดนิยมในซีรีส์แดนมังกร

2025-02-13T11:32:03+07:00กุมภาพันธ์ 13th, 2025|

หากคุณเคยไปท่องเที่ยวประเทศจีน คงต้องเคยผ่านตาขนมชนิดหนึ่งซึ่งทำจากผลไม้หลากชนิด เช่น ซานจา พุทรา สตรอว์เบอร์รี หรือองุ่น เคลือบน้ำตาล เสียบไม้ขายตามท้องถนนอย่างแน่นอน แม้แต่ประเทศไทยในปัจจุบัน ก็มีขนมหวานดังกล่าวขายด้วย ขนมชนิดนี้มีชื่อว่า “ปิงถังหูหลู” (冰糖葫蘆) หรือ “ถังหูหลู” (糖葫蘆)

ครรลองชีวิตและความคิดเชิงปรัชญาของ “หลิ่มไต่คิม”

2025-03-28T13:05:15+07:00ธันวาคม 24th, 2024|

หลิ่มไต่คิม (林大欽 หลินต้าชิน ค.ศ. 1511–1545) มีภูมิลำเนาอยู่ที่ถิ่นแต้จิ๋ว[1] ดินแดนแห่งนี้เพียบพร้อมด้วยวัฒนธรรมอันหลากหลาย ธรรมชาติและประเพณีที่ดีงาม รวมถึงวิถีชีวิตซึ่งสอดแทรกด้วยแนวคิดปรัชญาสามสำนัก (三教) ได้แก่ สำนักหรู (儒家) สำนักเต๋า (道家) และพระพุทธศาสนา (釋家/佛教)

“หนานซาน” พุทธสถานแดนทักษิณของจีน

2024-12-03T14:07:53+07:00ธันวาคม 3rd, 2024|

“หนานซาน” (南山) สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพุทธมามกะ คือเขตภูเขาที่อยู่ใต้สุดของแผ่นดินจีน เล่าขานกันว่าเป็นดินแดนสิริมงคล บ้างก็อ้างคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่บันทึกไว้ว่า พระโพธิสัตว์กวนอิม (觀音菩薩) เคยตรัสคำปรารถนา 12 ประการ หนึ่งในนั้นคือ “ประทับ ณ ทะเลใต้” (長居南海願)

ป้ายบรรพบุรุษ: เครื่องผูกพันใจของทายาทผู้วายชนม์

2024-11-05T11:29:02+07:00พฤศจิกายน 5th, 2024|

ความกตัญญู (孝) ถือเป็นยอดคุณธรรมตามคติลัทธิหรู (儒家) ของขงจื่อ (孔子 551–479 ปีก่อนค.ศ.) ที่ฝังใจผู้คนในสังคมจีน ชาวจีนจึงดูแลปรนนิบัติบุพการียามท่านยังมีลมหายใจ และเซ่นไหว้ยามท่านลาโลกแล้ว ดุจท่านยังไม่จากไปไหน (祭如在) เฉกเช่นการปรนบัติเมื่อครั้งท่านมีชีวิตอยู่ (事死如事生)

เอ็งกอ: จากศิลปะพื้นบ้านจีนสู่วิถีชุมชนไทย

2024-04-10T09:47:05+07:00เมษายน 10th, 2024|

เอ็งกอ (英歌) ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า “อิงเกอ” (Yīng gē) คือศิลปะการแสดงพื้นบ้านแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นที่นิยมในพื้นที่แถบชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เตี่ยซัว (潮汕) และบางพื้นที่ของมณฑลฮกเกี้ยน (福建 ฝูเจี้ยน) ในวันสำคัญต่างๆ ของทุกปี เช่น เทศกาลตรุษจีน (春節) เทศกาลหยวนเซียว (元宵節) ฯลฯ จะมีการจัดกระบวนแห่อันน่าตื่นตาตื่นใจเพื่อให้เกิดความสนุกสนานตลอดมา

เล่าเรื่อง “เทศกาลกินเจ”

2023-10-20T09:57:34+07:00ตุลาคม 20th, 2023|

เทศกาลกินเจคืออะไร? เหตุใดจึงนิยมในประเทศไทย? แล้วประเทศจีนมีการกินเจหรือไม่? เชื่อว่าคำถามเหล่านี้คงจะปรากฏขึ้นในความคิดของผู้อ่านหลายท่านเมื่อถึงเทศกาลกินเจประจำทุกปี วันนี้อาศรมสยามฯ จะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้แก่ทุกท่านเอง

เหตุใดชาวจีนจึงเรียกตนเองว่า “ลูกหลานของมังกร”?

2025-06-09T16:34:26+07:00พฤศจิกายน 22nd, 2021|

หลายคนเข้าใจว่ามังกรเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติจีน จึงเรียกประเทศจีนว่า ‘แผ่นดินมังกร’ หรือแม้แต่ชาวจีนเองก็เรียกตัวเองว่า ‘龙的传人’ ซึ่งหลายคนแปลว่า ‘ลูกหลานของมังกร’

พุทธศาสนามหายานบนแผ่นดินจีน

2025-04-04T15:56:07+07:00เมษายน 13th, 2020|

พุทธศาสนาแบ่งออกเป็นหลายนิกาย บางคนคุ้นเคยกับการเรียกว่า ‘เถรวาท-อาจริยวาท’ บางคนคุ้นเคยกับ ‘หินยาน-มหายาน’ อย่างไรก็ดีทั้งหมดล้วนถือกำเนิดจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปเมื่อ 2,500 กว่าปีมาแล้วทั้งสิ้น

ความสำคัญของแนวคิดหรู (儒) ต่อการปกครองสมัยราชวงศ์ฮั่น

2025-03-24T14:04:37+07:00กุมภาพันธ์ 3rd, 2020|

ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก (東周) หรือยุคชุนชิว-จั้นกั๋ว (春秋戰國 770-221 ปีก่อนคริสต์ศักราช) แผ่นดินจีนเกิดความขัดแย้งและแตกแยกออกเป็นแว่นแคว้นน้อยใหญ่จำนวนมาก

หลี่สือเจิน ราชาสมุนไพรจีน

2025-04-04T14:21:13+07:00ธันวาคม 13th, 2019|

ในยุคที่การแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้าอย่างทุกวันนี้ ประชาชนจำนวนมากต้องล้มตายเพราะโรคภัยไข้เจ็บ แต่ด้วยความมุมานะศึกษาค้นคว้าอย่างยากลำบากของหมอสมุนไพรจีนนามว่าหลี่สือเจิน (李時珍 ค.ศ. 1518-1593)

Go to Top