อักษรซ้อนสาม (三叠字)


——三叠字 (Sān dié zì  ซันเตี๋ยจื้อ) หรือ “อักษรซ้อนสาม” หมายถึง อักษรที่ประกอบขึ้นด้วยตัวอักษรที่เหมือนกัน 3 ตัว เพื่อสร้างความหมายใหม่ที่เฉพาะเจาะจง

——จีนมีคำกล่าวว่า หนึ่งให้กำเนิดสอง สองให้กำเนิดสาม สามให้กำเนิดสรรพสิ่ง (一生二,二生三,三生万物) ซึ่งแนวคิดนี้ก็สะท้อนอยู่ในการใช้ภาษาเช่นเดียวกัน ตัวเลข 3 ในภาษาจีน นอกจากจะมีความหมายถึงจำนวน “สาม” ตามความหมายดั้งเดิมของคำแล้ว ยังมีนัยถึงจำนวนหรือปริมาณมากอีกด้วย ดังนั้นความหมายโดยส่วนใหญ่ของอักษรซ้อนสามจึงมักสื่อถึงปริมาณที่เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ หรือลักษณะที่พิเศษขึ้นจากความหมายเดิมของคำที่นำมาใช้ประกอบกัน

——ตัวอักษรซ้อนสามนี้ ถูกสร้างขึ้นโดยการประสมความหมาย (会意) กล่าวคือนำอักษรตัวเดียวกันมาผสมผสานเพื่อสร้างคำใหม่ขึ้นมา โดยมากมักอยู่ในโครงสร้างอักษร (品字形) คือด้านบนมีอักษรหนึ่งตัว ด้านล่างมีอักษรเหมือนด้านบนอีกสองตัว ส่วนความหมายที่ได้ย่อมแตกต่างไปตามชนิดตัวอักษรที่นำมาประสม บ้างก็เกี่ยวเนื่องกับปัญจธาตุ (五行) บ้างก็เกี่ยวพันกับธรรมชาติ บ้างเป็นตัวอักษรที่เกี่ยวกับมนุษย์หรืออวัยวะในร่างกาย ฯลฯ

——อย่างไรก็ตามอักษรซ้อนสามเหล่านี้ โดยมากจะพบในเอกสารโบราณ วรรณคดี หรือชื่อคน อาจไม่ได้ปรากฏในภาษาจีนปัจจุบันเท่าไรนัก

ตัวอย่างอักษรซ้อนสาม

  • อักษรเกี่ยวกับปัญจธาตุ

    • (xīn) ประกอบมาจากตัวอักษร 金 (jīn ทอง เงิน โลหะ) มีความหมายสื่อถึง “มากด้วยทรัพย์สินเงินทอง”
    • (sēn) ประกอบมาจากตัวอักษร “木” ( ไม้) มีความหมายสื่อถึง “หมู่มวลพฤกษาจำนวนมาก”
    • (miǎo) ประกอบมาจากตัวอักษร 水 (shuǐ น้ำ) มีความหมายสื่อถึง “น้ำปริมาณมาก” นอกจากนี้ยังมีนัยถึง “ความกว้างใหญ่ไพศาล” อีกด้วย
    • (yàn) ประกอบมาจากตัวอักษร 火 (huǒ ไฟ) มีความหมายสื่อถึง “ประกายไฟสว่างไสว” หรือ “ดอกไม้ไฟ”
    • (yáo) ประกอบมาจากอักษร 土 ( ดิน) มีความหมายสื่อถึง “กองดินสูง”
  • อักษรเกี่ยวกับธรรมชาติ

    • (jīng) ประกอบมาจากอักษร 日 ( พระอาทิตย์) มีความหมายสื่อถึง “ความสว่างไสว” หรือ “เจิดจรัสเป็นประกาย”
    • (lěi) ประกอบมาจากอักษร 石 (shí ก้อนหิน) มีความหมายสื่อถึง “กองหิน”
    • (bēn) เป็นอักษรต่างรูป (异体字) ของ 奔 (bēn) ประกอบมาจากอักษร 牛 (niú วัว) เดิมมีความหมายสื่อถึง “ฝูงวัววิ่งหนีด้วยความตื่นตระหนก” ภายหลังถูกนำมาใช้ในความหมายของ “การวิ่งอย่างรวดเร็ว”
    • (biāo) ประกอบมาจากอักษร 马 ( ม้า) มีความหมายสื่อถึง “ฝูงม้าห้อตะบึง”
    • (shān) เป็นอักษรต่างรูปของ 膻 (shān) ประกอบมาจากอักษร 羊 (yáng แกะ หรือแพะ) มีความหมายสื่อถึง “กลิ่นสาบของแกะหรือแพะ”
  • อักษรที่เกี่ยวกับมนุษย์หรืออวัยวะในร่างกาย

    • (zhòng) ประกอบมาจากอักษร 人 (rén คน) มีความหมายสื่อถึง “ฝูงชน” หรือ “คนจำนวนมาก”
    • (pǐn) ประกอบจากตัวอักษร 口 (kǒu ปาก) มีความหมายว่า “ลิ้มรส” “ชิม”
    • () ประกอบจากตัวอักษร 手 (shǒu มือ) มีความหมายสื่อถึง “หัวขโมย” (扒手)