สุสานพระเจ้าตากสิน ณ เถ่งไฮ่
พิพิธภัณฑสถานมณฑลยูนนาน (云南省博物馆) เป็นสถานที่รวบรวมวัตถุโบราณนานาชนิด อีกทั้งยังจัดแสดงสิ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณชนและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ
พิพิธภัณฑสถานมณฑลยูนนาน (云南省博物馆) เป็นสถานที่รวบรวมวัตถุโบราณนานาชนิด อีกทั้งยังจัดแสดงสิ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณชนและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ
เอ็งกอ (英歌) ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า “อิงเกอ” (Yīng gē) คือศิลปะการแสดงพื้นบ้านแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นที่นิยมในพื้นที่แถบชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เตี่ยซัว (潮汕) และบางพื้นที่ของมณฑลฮกเกี้ยน (福建 ฝูเจี้ยน) ในวันสำคัญต่างๆ ของทุกปี เช่น เทศกาลตรุษจีน (春節) เทศกาลหยวนเซียว (元宵節) ฯลฯ จะมีการจัดกระบวนแห่อันน่าตื่นตาตื่นใจเพื่อให้เกิดความสนุกสนานตลอดมา
สืบเนื่องจากจดหมายข่าวอาศรมสยาม-จีนวิทยา ฉบับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ลำดับที่ 250 (เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566) ได้นำเสนอบทความเรื่อง ‘ถอดรหัสความหมายมงคลชื่ออาหารจีน’ เนื้อหาตอนต้นของบทความมีการอ้างถึงสำนวนจีน ‘民以食为天’ ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า ราษฎรถือว่าปากท้องสำคัญเทียมฟ้า ในเวลาต่อมา อาจารย์ถาวร สิกขโกศล ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษาได้กรุณาให้คำแนะนำเกี่ยวกับสำนวนจีนดังกล่าวว่า หมายถึง 'ราษฎรดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร' เพราะอักษร 天 tiān (เทียน) มีหลายความหมาย มิได้แปลว่า ‘ฟ้า’ เพียงอย่างเดียว
ปัจจุบัน แม้ “ระบบการสอบคัดเลือกข้าราชการแบบเคอจี่ว์” จะถูกยกเลิกมากว่า 100 ปีแล้ว แต่ระบบการสอบซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในองคาพยพของสังคมจีนสมัยโบราณนี้ก็ยังคงมีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นกรณีศึกษาในวงวิชาการ นักวิชาการบางกลุ่มมองว่า การสอบเข้ารับราชการแบบเคอจี่ว์ เป็นต้นแบบของระบบการคัดเลือกบุคคลที่ใช้กันในปัจจุบัน
ในคติความเชื่อของจีน ‘มังกร’ (龙 lóng) เป็นสัตว์วิเศษที่แปลงร่างได้ บินขึ้นฟ้าได้ มุดลงดินหรือดำน้ำลึกได้ สามารถปรับตัวได้ในหลายสถานการณ์ มีอิทธิฤทธิ์เกี่ยวข้องกับฟ้าฝนน้ำและไฟ รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์แทนอำนาจจักรพรรดิ ความสูงส่ง และเกียรติยศในวัฒนธรรมจีน นอกจากนี้ ศาสตร์ฮวงจุ้ยยังกำหนดให้ มังกรคราม (青龙 qīng lóng) เป็นสัตว์ประจำทิศตะวันออก มีสถานะเทียบเท่าเทพเจ้าในลัทธิเต๋า สามารถปัดเป่าความชั่วร้ายและพลังลบต่างๆ พร้อมนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง อายุยืนยาว โชคลาภวาสนาได้อีกด้วย
เคอจี่ว์ (科舉) หรือที่คนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า “การสอบจอหงวน” (考狀元) คือการทดสอบความรู้ความสามารถด้วยการแข่งขันเพื่อคัดเลือกบัณฑิตชั้นยอดเข้าสู่ระบบราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งขุนนางโดยจักรพรรดิ แม้ว่าทุกวันนี้ระบบการสอบดังกล่าวจะถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ก็ยังคงถือเป็นระบบการคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการที่สำคัญและหยั่งรากลึกในสังคมจีนมาอย่างยาวนาน
ตำหนักทอง (金殿) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตำหนักไท่เหอกง (太和宫) เป็นตำหนักทองที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดในประเทศจีน และเป็นอารามของลัทธิเต๋าที่มีชื่อเสียงของมณฑลยูนนาน ตั้งอยู่เชิงเขาหมิงเฟิ่งซาน (鸣凤山 หรือภูเขานกแก้ว 鹦鹉山) ห่างออกไปทางตะวันออกของเมืองคุนหมิงราว 8 กิโลเมตร
พิพิธภัณฑสถานมณฑลยูนนาน (云南省博物馆) เป็นสถานที่รวบรวมวัตถุโบราณนานาชนิด อีกทั้งยังจัดแสดงสิ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณชนและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ
นับแต่สมัยราชวงศ์ฉินเป็นต้นมา ชาวจีนจงหยวน มักอ้างเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ “จวงเฉียวรู่เตียน” เพื่อถือสิทธิ์ครอบครองดินแดนยูนนาน ทว่าในทางภูมิศาสตร์ ดินแดนยูนนานอยู่ห่างจงหยวนมาก จักรพรรดิจึงมิอาจปกครองโดยใช้อำนาจเบ็ดเสร็จได้ อีกทั้งมีอาณาจักรน่านเจ้า ซึ่งเคยแผ่อิทธิพลไปถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน ผงาดขึ้นเป็นรัฐอิสระทรงพลังในอาณาบริเวณนี้ในสมัยราชวงศ์ถัง
ญี่ปุ่นเป็นชาติหนึ่งที่รับวัฒนธรรมจากจีนมาช้านาน นับตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย (隋 ค.ศ. 581 - 619) ของจีนเป็นอย่างน้อย วัฒนธรรมจีนได้กลายเป็นรากฐานของวัฒนธรรมญี่ปุ่นในหลายด้าน รวมถึงสิ่งซึ่งเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของญี่ปุ่นอย่างตำนานภูตผีปีศาจและสิ่งมีชีวิตพิสดาร ซึ่งวัฒนธรรมจีนก็สามารถแทรกซึมเข้าไปได้อย่างแนบเนียน ภูตผีปีศาจของจีนจำนวนหนึ่งจึงเข้าไปโลดแล่นในปกรณัมภูตผีปีศาจของญี่ปุ่นด้วย