ภูมิปัญญาจีน

“หนานซาน” พุทธสถานแดนทักษิณของจีน

2024-12-03T14:07:53+07:00ธันวาคม 3rd, 2024|

“หนานซาน” (南山) สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพุทธมามกะ คือเขตภูเขาที่อยู่ใต้สุดของแผ่นดินจีน เล่าขานกันว่าเป็นดินแดนสิริมงคล บ้างก็อ้างคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่บันทึกไว้ว่า พระโพธิสัตว์กวนอิม (觀音菩薩) เคยตรัสคำปรารถนา 12 ประการ หนึ่งในนั้นคือ “ประทับ ณ ทะเลใต้” (長居南海願) ซึ่งก็คือบริเวณใกล้เคียงเขาหนานซานแห่งนี้

ป้ายบรรพบุรุษ: เครื่องผูกพันใจของทายาทผู้วายชนม์

2024-11-05T11:29:02+07:00พฤศจิกายน 5th, 2024|

ความกตัญญู (孝) ถือเป็นยอดคุณธรรมตามคติลัทธิหรู (儒家) ของขงจื่อ (孔子 551–479 ปีก่อนค.ศ.) ที่ฝังใจผู้คนในสังคมจีน ชาวจีนจึงดูแลปรนนิบัติบุพการียามท่านยังมีลมหายใจ และเซ่นไหว้ยามท่านลาโลกแล้ว ดุจท่านยังไม่จากไปไหน (祭如在) เฉกเช่นการปรนบัติเมื่อครั้งท่านมีชีวิตอยู่ (事死如事生)

บันทึกรักปิ่นม่วง: นาฏกรรมแสนรันทดแต่งดงามตรึงใจ

2024-09-30T14:53:55+07:00กันยายน 30th, 2024|

"บันทึกรักปิ่นม่วง" เป็นบทงิ้วคุนฉี่ว์ที่แต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง โดยนักเขียนบทละครชาวเมืองหลินชวน มณฑลเจียงซี นามทังเสี่ยนจู่ ดัดแปลงโครงเรื่องและเนื้อเรื่องจาก "ตำนานฮั่วเสี่ยวอี้ว์" ที่แต่งโดยเจี่ยงฝางและเป็นบทละครจ๋าจี้ว์ ซึ่งมีอยู่เดิมในสมัยราชวงศ์ถัง ตำนานทั้งสองเรื่องพรรณนาความรักของบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์อย่างหลี่อี้ กวีและขุนนางผู้ใหญ่ กับหญิงสาวนามฮั่วเสี่ยวอี้ว์

สะพานกว่างจี้

2024-07-10T10:16:33+07:00กรกฎาคม 10th, 2024|

สะพานกว่างจี้ (广济桥) หรือสะพานเซียงจื่อ (湘子桥) ตั้งอยู่ทางประตูทิศตะวันออกของเมืองโบราณแต้จิ๋ว (潮州古城)[1] เป็นสะพานข้ามแม่น้ำหั่งกัง (韩江 หานเจียง) ซึ่งเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายสำคัญของพื้นที่แต้จิ๋ว

เจ้าแม่มาจู่ เทพธิดาแห่งท้องทะเล (海神妈祖)

2024-05-29T11:01:21+07:00พฤษภาคม 16th, 2024|

หากกล่าวถึงชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มแรกๆ ที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ชาวฮกเกี้ยนคงเป็นกลุ่มหนึ่งที่หลายคนนึกถึง ชาวจีนกลุ่มนี้อพยพเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนใหญ่มีบทบาทสำคัญทางการค้า นอกจากความเจริญรุ่งเรืองทางการค้าและความสัมพันธ์ทางการทูตแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ชาวจีนโพ้นทะเลเหล่านี้นำติดตัวเข้ามาด้วย และมีอิทธิพลต่อชนพื้นเมืองในภายหลังก็คือ “วัฒนธรรม”

สุสานพระเจ้าตากสิน ณ เถ่งไฮ่

2024-05-14T16:21:58+07:00พฤษภาคม 14th, 2024|

พิพิธภัณฑสถานมณฑลยูนนาน (云南省博物馆) เป็นสถานที่รวบรวมวัตถุโบราณนานาชนิด อีกทั้งยังจัดแสดงสิ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณชนและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ

เอ็งกอ: จากศิลปะพื้นบ้านจีนสู่วิถีชุมชนไทย

2024-04-30T15:26:11+07:00เมษายน 10th, 2024|

เอ็งกอ (英歌) ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า “อิงเกอ” (Yīng gē) คือศิลปะการแสดงพื้นบ้านแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นที่นิยมในพื้นที่แถบชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เตี่ยซัว (潮汕) และบางพื้นที่ของมณฑลฮกเกี้ยน (福建 ฝูเจี้ยน) ในวันสำคัญต่างๆ ของทุกปี เช่น เทศกาลตรุษจีน (春節) เทศกาลหยวนเซียว (元宵節) ฯลฯ จะมีการจัดกระบวนแห่อันน่าตื่นตาตื่นใจเพื่อให้เกิดความสนุกสนานตลอดมา

เช็งเม้ง: เทศกาลแสดงความกตัญญูต่อบรรพชน

2024-04-04T13:59:33+07:00เมษายน 4th, 2024|

ย่างเข้าเทศกาลเช็งเม้งเมื่อใด ลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีนก็จะจัดเตรียมของเซ่นไหว้บรรพบุรุษหรือเดินทางไปเยี่ยมสุสานบรรพชนตามสถานที่ต่างๆ เพราะเช็งเม้งถือเป็นอีกหนึ่งเทศกาลสำคัญที่สมาชิกในครอบครัวจะได้นัดหมายรวมตัวกันเพื่อประกอบกิจกรรมรำลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ

หลากหลายความหมายของคำว่า ‘เทียน’ (天)

2024-06-28T15:29:23+07:00กุมภาพันธ์ 29th, 2024|

สืบเนื่องจากจดหมายข่าวอาศรมสยาม-จีนวิทยา ฉบับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ลำดับที่ 250 (เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566) ได้นำเสนอบทความเรื่อง ‘ถอดรหัสความหมายมงคลชื่ออาหารจีน’ เนื้อหาตอนต้นของบทความมีการอ้างถึงสำนวนจีน ‘民以食为天’ ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า ราษฎรถือว่าปากท้องสำคัญเทียมฟ้า ในเวลาต่อมา อาจารย์ถาวร สิกขโกศล ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษาได้กรุณาให้คำแนะนำเกี่ยวกับสำนวนจีนดังกล่าวว่า หมายถึง 'ราษฎรดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร' เพราะอักษร 天 tiān (เทียน) มีหลายความหมาย มิได้แปลว่า ‘ฟ้า’ เพียงอย่างเดียว

เคอจี่ว์: การสอบคัดเลือกข้าราชการในจีนสมัยโบราณ (2)

2024-02-29T10:18:38+07:00กุมภาพันธ์ 29th, 2024|

ปัจจุบัน แม้ “ระบบการสอบคัดเลือกข้าราชการแบบเคอจี่ว์” จะถูกยกเลิกมากว่า 100 ปีแล้ว แต่ระบบการสอบซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในองคาพยพของสังคมจีนสมัยโบราณนี้ก็ยังคงมีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นกรณีศึกษาในวงวิชาการ นักวิชาการบางกลุ่มมองว่า การสอบเข้ารับราชการแบบเคอจี่ว์ เป็นต้นแบบของระบบการคัดเลือกบุคคลที่ใช้กันในปัจจุบัน

Go to Top