หมากู เทพนารีตามความเชื่อลัทธิเต๋า
มื่อกล่าวถึงเทพแห่งอายุยืนของลัทธิเต๋าที่คนไทยรู้จักก็จะนึกถึงเทพซิ่วในกลุ่มฮก ลก ซิ่ว โดยมากมักเป็นเทพฝ่ายชาย แต่ฝ่ายหญิงก็มีเทพแห่งอายุยืนเหมือนกัน เทพองค์นั้นก็คือ หมากู (麻姑)
มื่อกล่าวถึงเทพแห่งอายุยืนของลัทธิเต๋าที่คนไทยรู้จักก็จะนึกถึงเทพซิ่วในกลุ่มฮก ลก ซิ่ว โดยมากมักเป็นเทพฝ่ายชาย แต่ฝ่ายหญิงก็มีเทพแห่งอายุยืนเหมือนกัน เทพองค์นั้นก็คือ หมากู (麻姑)
‘ฮก ลก ซิ่ว’ (福祿壽) เชื่อกันว่าเทพทั้งสามสามารถบันดาลความสุข ความโชคดี ความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ความมีอายุยืน และสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงให้แก่มนุษย์
จากค่านิยมเรื่องความงามของผู้หญิงบางกลุ่มกลายเป็นธรรมเนียมที่นิยมไปในวงกว้าง เมื่อสืบหาที่มาของ การมัดเท้าซึ่งถูกมองว่าเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์เฉพาะสังคมจีนยุคศักดินา สันนิษฐานว่าความตั้งใจเดิมคงไม่ได้มุ่งทำร้ายร่างกายผู้หญิง แต่เป็นการแสวงหาความงามของผู้หญิงบางกลุ่ม เช่น เหล่านางรำ นางกำนัลในพระราชวัง ฯลฯ
การมัดเท้า (缠足) เป็นประเพณีแปลกประหลาดที่ปรากฏในสังคมจีนครั้งอดีต เป็นการใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมพันเท้าผู้หญิง มัดให้แน่นไว้เป็นเวลานานจนเท้าค่อยๆ บิดงอได้รูปทรงตามที่ต้องการ และเล็กลงเป็นรูปสามเหลี่ยม คนส่วนใหญ่เลือกมัดเท้าตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อชะลอการเจริญเติบโตของเท้า โดยทั่วไปเริ่มผูกรัดเท้าเด็กผู้หญิงตั้งแต่อายุ 4-5 ขวบ กระทั่งโตขึ้นจนกระดูกคงตัวจึงปลดผ้าออก แต่ก็มีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ใช้ผ้ามัดเท้าไว้ตลอดชีวิต
เงินตราของจีนเป็นหนึ่งในเงินซึ่งเก่าแก่ที่สุดในโลก และแปรเปลี่ยนรูปลักษณ์มาตลอดเวลากว่า 4 พันปี เป็นสีสันอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในหน้าประวัติศาสตร์ เงินจีนบางยุคไม่เพียงใช้ในประเทศเท่านั้น แต่ยังแพร่หลายไปทั่วเอเชียอีกด้วย
พินอินหรือฮั่นอวี่พินอิน (汉语拼音 Hànyǔ pīnyīn) คือ ระบบการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐานด้วยอักษรละติน (อักษรโรมัน) โดยคำว่า "พินอิน" แปลตรงตัวหมายถึง "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" ระบบพินอินออกแบบและพัฒนาโดยคณะกรรมการปฏิรูปอักษรแห่งชาติจีนในช่วง ค.ศ. 1955-1957 ซึ่งยึดเสียงอ่านอักษรในภาษาจีนกลาง (普通话 pǔtōnghuà) เป็นต้นแบบ
หากเลขหลักสิบเป็นเลข 1 เวลาอ่านหลักสิบต้องอ่านเป็น一十 yī shí โดยต้องมีคำว่า 一 yī กำกับและออกเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงที่ 1 เสมอ เช่น 一百一十 (110) อ่านว่า yì bǎi yī shí หนึ่งร้อยสิบ 一百一十四 (114) อ่านว่า yì bǎi yī shí sì หนึ่งร้อยสิบสี่ หากเลขหลักสิบเป็นเลข 0 เวลาอ่านหลักสิบต้องอ่านคำว่า 零 líng ศูนย์ ด้วย เช่น 一百零九 (109) อ่านว่า yì bǎi líng jiǔ หนึ่งร้อยเก้า การอ่านจำนวนตัวเลขโดยละ 零 líng อาจทำให้ตีความผิดได้ เพราะ 一百九 yì bǎi jiǔ ย่อมาจากคำว่า 一百九十 yì bǎi jiǔ shí หมายถึง หนึ่งร้อยเก้าสิบ (190)
เทศกาลตรุษจีน (春節) เป็นเทศกาลสำคัญของชาวจีนมาช้านาน ทุกพื้นที่ทั่วประเทศล้วนจัดงานเฉลิมฉลอง มีการเชิดสิงโต จุดประทัด ตกแต่งบ้านเรือนด้วยคำกลอนมงคล ผู้คนซึ่งทำงานในเมืองหรือต่างมณฑลล้วนเดินทางกลับบ้านเกิดไปใช้เวลากับครอบครัว ทุกบ้านรับประทานอาหารร่วมกัน อาหารที่ชาวจีนนิยมรับประทานในช่วงตรุษจีนล้วนแฝงความหมายมงคลทั้งนั้น ประเภทอาหารที่เรามักได้ยินได้แก่
‘เจี๋ยกู่เหวิน’ (甲骨文) คืออักษรจีนโบราณชนิดหนึ่งที่จารลงบนกระดองเต่าหรือกระดูกสัตว์ คำว่า ‘เจี่ย’ (甲) มาจาก ‘กุยเจี่ย’ (龜甲) หมายถึง กระดองเต่า และ ‘กู่’ มาจาก ‘โซ่วกู่’ (獸骨) หมายถึง กระดูกสัตว์ นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น ‘อักษรจาร’ (契文) ‘อักษรกระดองเต่ากระดูกสัตว์’ (龜甲獸骨文) ‘อักษรทำนายบนกระดองเต่าและกระดูกสัตว์’ (甲骨卜辭) ‘อักษรอินซวี’ (殷墟文字) เป็นต้น
ยุคชุนชิวจั้นกั๋ว (春秋战国 770-221 ปีก่อนคริสตกาล) หลังราชสำนักโจวเสื่อมโทรม สังคมกำลังวุ่นวายกับสงครามชิงอำนาจระหว่างรัฐ ในเวลานั้นผู้คนต่างต้องการแสวงหาทางออกที่ดีที่สุดให้สังคม ปัญญาชนทั้งหลายจึงพากันแสดงความคิดเห็นและเสนอทฤษฎีการแก้ปัญหาตามแนวคิดของตน เป็นเหตุให้ค่อยๆ ปรากฏเป็นสำนักปรัชญามากมายหลายแขนง อาทิ เหลาจื่อ ขงจื่อ เมิ่งจื่อ สวินจื่อ ม่อจื่อ หานเฟยจื่อ เป็นต้น นักคิดเหล่านี้ล้วนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือทำให้สังคมที่กำลังวุ่นวาย จริยธรรมเสื่อมโทรมนั้น ได้พบกับความสงบสุข