ประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรมจีน
บทความสาระความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน
เหตุใดคนจีนสมัยโบราณถึงเขียนอักษรเป็นแนวตั้ง?
ปกติเราเขียนและอ่านหนังสือจากทางซ้ายไปทางขวา แต่คนจีนในสมัยโบราณจะเขียนและอ่านหนังสือจากขวาไปซ้าย มีเหตุผล 3 ประการ ได้แก่ 1. ลักษณะหนังสือของยุคโบราณ 2. วิธีการเขียนและอ่านหนังสือของคนยุคโบราณ 3. อักษรจีนในยุคแรกเริ่มมีลักษณะเป็นอักษรภาพ ซึ่งไม่ใช่การสะกดคำ
ก่วนจ้ง: มหาเสนาบดีสีเทาผู้ยากจะนิยาม
หากพูดถึงบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จีนอย่างขงจื่อ (孔子) เหลาจื่อ (老子) เมิ่งจื่อ (孟子) หรือแม้แต่สวินจื่อ (荀子) เชื่อว่าคนไทยหลายต่อหลายคนคงได้ยินผ่านหูมาบ้าง แต่มีบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จีนอีกท่านหนึ่งที่ยังไม่ค่อยปรากฏสู่สายตาคนไทยและยังไม่ค่อยได้รับการพูดถึงเท่าใดนัก นั่นก็คือ ก่วนจ้ง (管仲) หรือก๋วนจื่อ (管子)
หลักคุณธรรมค้ำจุนรัฐทั้งสี่ (国之四维)
‘หลักคุณธรรมค้ำจุนรัฐทั้งสี่’ (国之四维) ได้รับการบันทึกไว้ในบท ‘มู่หมิน’ (牧民) ซึ่งเป็นบทแรกในตำรา ‘ก๋วนจื่อ’ (管子) อันเป็นตำราที่อนุชนได้รวบรวมภูมิปัญญาความคิดของก่วนจ้ง (管仲 มหาเสนาบดีสมัยชุนชิว) เอาไว้ ตำราเล่มนี้มีเนื้อหาครอบคลุมหลากหลายด้าน ทั้งเรื่องการปกครองบ้านเมือง การวางระบบกฎหมาย การจัดระเบียบสังคม และการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งยังสอดแทรกแนวคิดของลัทธิขงจื๊อ (儒家) ลัทธิเต๋า (道家) และลัทธินิติธรรมนิยม (法家) เข้าไว้อีกด้วย
‘พัคบุลฮวา’ ขันทีชาวเกาหลีผู้ทรงอิทธิพลในราชวงศ์หยวน
เมื่อกล่าวถึง ‘ขันที’ เรามักนึกถึงชายชาวจีนที่ถูกตอนอวัยวะเพศ และคอยปรนนิบัติรับใช้อยู่ภายในวังหลวงจีนสมัยโบราณ น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในประวัติศาสตร์จีนไม่ได้มีเพียงเพียงชายชาวจีนเท่านั้น แต่ยังมีขันทีต่างชาติอีกจำนวนหนึ่งที่ถูกส่งตัวมาจากแคว้นน้อยใหญ่เสมือนทูตบรรณาการเพื่อแสดงความสวามิภักดิ์และความสัมพันธ์อันดีกับอาณาจักรจีนผู้ยิ่งใหญ่
การผดุงครรภ์แบบจีน
การมีบุตรจำนวนมากเพื่อดำรงไว้ซึ่งวงศ์ตระกูลถือเป็นค่านิยมสำคัญของคนจีนมาแต่โบราณ ทว่าในสมัยก่อนวิทยาการด้านการแพทย์ยังค่อนข้างล้าหลัง อัตราการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากภาวะคลอดยากจึงอยู่ในระดับสูง ทารกหลายคนต้องสิ้นชีวิตลงก่อนลืมตาดูโลก ยิ่งกว่านั้นค่านิยมการแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยทำให้ร่างกายไม่พร้อมสำหรับการมีบุตร
พระสนมเจินเฟย โศกนาฏกรรมที่บ่อน้ำ ณ วังต้องห้าม
สนมเจินเฟย (珍妃 ค.ศ. 1876-1900) เกิดเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1876 มีพี่สาวต่างมารดาคือสนมจิ่นเฟย (瑾妃 ค.ศ. 1873-1924) บิดามีนามว่าจ่างซวี่ (長敘) เป็นผู้ช่วยประจำกระทรวงพิธีกรรม (禮部) ส่วนมารดาแซ่จ้าว (赵) เมื่อสนมเจินเฟยและสนมจิ่นเฟยมีอายุ 13 และ 15 ปีตามลำดับก็ได้รับการคัดเลือกเข้าวังหลวงมาเป็นนางกำนัล (嬪) ครั้นเวลาผ่านไป 5 ปี ทั้งคู่ก็เลื่อนตำแหน่งเป็นพระสนม (妃) ในจักรพรรดิกวงซวี่ (光緒帝 ค.ศ. 1871-1908)