—-อักษร 鼠 สามารถบ่งบอกและยืนยันว่า ‘หนู’ เป็นสัตว์ที่อยู่คู่สังคมมนุษย์มาช้านาน เพราะว่าชาวจีนประดิษฐ์อักษร 鼠 (shǔ หนู) ขึ้นตั้งแต่หลายพันปีที่แล้ว

—–จากการค้นคว้าข้อมูลพิสูจน์ได้ว่า 鼠 ปรากฏครั้งแรกในอักษรรูปภาพคือ  นับเป็นอักษรกระดองเต่า (甲骨文) ประกอบไปด้วยสัญลักษณ์แทนอวัยวะต่างๆ บนตัวหนู ได้แก่ ปากแหลม หูใหญ่ หางยาว และมีสัญลักษณ์  อยู่ใกล้บริเวณปากหนู สื่อถึงเศษอาหารที่หนูกัดแทะ ต่อมาในยุคอักษรสำริด (金文) อักษร 鼠 ปรากฏในรูป มีการเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์จากเดิม มีจุดเด่นที่ฟันและปาก มีการวาดอุ้งเท้าเพิ่มเติม และต่อหางยาวขึ้น ครั้นถึงยุคอักษรจ้วน (篆文) ได้ดัดแปลงรูปอักษรสำริดจนกลายเป็นรูป  และใช้สืบทอดเรื่อยมาถึงยุคอักษรข่ายซู (楷书) ซึ่งปรากฏส่วนหางของรูปอักษรจ้วนหดสั้นลงจนกลายเป็นรูป ดังที่ใช้กันในปัจจุบัน

—–อย่างไรก็ตาม หนูมักถูกมนุษย์มองในแง่ลบอยู่เสมอว่าเป็นสัตว์ที่น่ารังเกียจและขี้ขโมย เนื่องจากมันชอบแอบกินเสบียงอาหาร ทำลายพืชผลและสิ่งของ ทั้งยังเป็นพาหะของโรคระบาดร้ายแรงต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ คำศัพท์ที่มีอักษร 鼠 เป็นส่วนประกอบจึงมักสื่อความหมายไปในเชิงลบตามทัศนคติที่ชาวจีนมีต่อ ‘หนู’ อาทิ 鼠辈 (shǔ bèi พวกคนเลวทรามต่ำช้า) 鼠胆 (shǔ dǎn ขี้ขลาดตาขาว) 鼠窜 (shǔ cuàn หนีหัวซุกหัวซุน) 鼠目寸光 (shǔ mù cùn guāng มุมมองแคบ ไม่มีวิสัยทัศน์) 过街老鼠,人人喊打 (guò jiē lǎo shǔ, rén rén hǎn dǎ หนูวิ่งเพ่นพ่านบนถนน ทุกคนต่างส่งเสียงร้องให้ตี อุปมาถึง คนที่ถูกรังเกียจเดียดฉันท์) เป็นต้น