—–อักษร 子 (zǐ บุตรหรือคน) มีประวัติความเป็นมายาวนาน โดยผ่านกระบวนการวิวัฒนาการอย่างซับซ้อนหลายยุคหลายสมัย

—–ในยุคแรกสุด อักษร 子ปรากฏในรูป   ซึ่งเป็นตัวอักษรเจี๋ยกู่เหวิน (甲骨文 กระดองเต่า) มีลักษณะเป็นภาพเด็กเล็ก ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ศีรษะ  เส้นผม และเท้าสองข้าง นอกจากนี้ยังพบอักษร 子 ปรากฏในรูปย่อ มีลักษณะเป็นเด็กเล็กที่เท้าทั้งสองข้างถูกห่อหุ้มอยู่ในผ้าอ้อม วาดเป็นเส้นเดียวและประกอบด้วยส่วนศีรษะ  กับแขนสองข้างที่ขยับไปมา

—–ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุคอักษรจินเหวิน (金文 อักษรสำริด) อักษร 子 เปลี่ยนลักษณะเล็กน้อยเป็นรูป เมื่อมาถึงยุคอักษรจ้วน (篆文) ยังคงใช้  และมีรูปใหม่คือ ซึ่งเกิดจากการรวมรูปอักษรกระดองเต่า และ นอกจากนี้ยังปรากฏรูป  ซึ่งมีลักษณะเหมือนเด็กเล็ก นั่งบนม้านั่ง  และแกว่งมือไปมา

—–หลังจากนั้นเมื่อเข้าสู่ยุคอักษรลี่ซู (隶书) ก็พัฒนาอักษร 子 โดยลดรูปแขนทั้งสองข้างของอักษรกระดองเต่า  จนเป็นรูป  มีลักษณะเหมือนเด็กทารกในห่อผ้าอ้อมที่ยื่นแขนสองข้างออกมาข้างลำตัว สุดท้ายได้วิวัฒนาการมาเป็นรูป 子 เมื่อถึงยุคอักษรข่ายซู (楷书) และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

—–จากที่มีคนเคยตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดคนจีนจึงประดิษฐ์อักษรภาพ (子) ให้มีขาเพียงข้างเดียว ซึ่งก็ได้คำตอบว่า ขาทั้งสองข้างของเด็กทารกถูกห่อด้วยผ้าอ้อมนี่เอง อีกทั้งยังบ่งบอกถึงสภาพที่เป็นเด็กอ่อนยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ คนโบราณจึงประดิษฐ์ตัวอักษร  ให้เขียนเป็นเส้นขีดเส้นเดียวแทน ซึ่งถ้าไม่ได้ศึกษาถึงที่มาก็ทำให้ดูคล้ายกับว่ามีขาแค่ข้างเดียว

—–พัฒนาการของอักษร 子 ยังบ่งบอกวิธีการเลี้ยงดูทารกของชาวจีนตั้งแต่แต่สมัยโบราณจวบจนปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อมีทารกคลอดออกมา ชาวจีนจะนำผ้าขนหนูมาห่อตัวทารกไว้ ด้วยเหตุผลที่กล่าวอ้างกันต่างๆ นานา บ้างก็ว่าเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายของทารกให้อบอุ่น บ้างก็ว่าจะช่วยดัดขาของทารกให้ตรงเพื่อป้องกันไม่ให้ขาโก่ง หรือหลายคนก็เชื่อกันว่า จะทำให้ทารกนอนหลับสบาย ไม่สะดุ้งตื่นโดยง่าย เป็นต้น