ประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรมจีน
บทความสาระความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน
ซูสีไทเฮาและเลดีคองเกอร์: มิตรภาพข้ามแดนระหว่างพระพันปีหลวงกับภริยาทูตอเมริกัน
พระฉายาลักษณ์หนึ่งที่น่าสนใจของสมเด็จพระพันปีหลวงฉือสี่ (慈禧太后 ค.ศ. 1835 - 1908) หรือพระนางซูสีไทเฮา ที่มีผู้ให้ความสนใจกันมากภาพหนึ่ง คือภาพที่ประทับนั่งและยื่นพระหัตถ์ให้สุภาพสตรีชาวตะวันตกผู้หนึ่งจับ ซึ่งแสดงออกถึงการ "เปิดรับ" ความเป็นตะวันตกของราชสำนักชิงในช่วงใกล้อวสาน นอกจากองค์ประกอบภาพที่น่าสนใจแล้ว บุคคลในภาพที่จับพระหัตถ์พระพันปีหลวงอย่างเลดีซาราห์ ไปค์ คองเกอร์ (Lady Sarah Jane Pike Conger ค.ศ. 1843 - 1932) ก็มีประวัติน่าสนใจ ในฐานะ "พระสหาย" ชาวตะวันตกของพระพันปีหลวงเช่นกัน
อุทยานตระกูลอู่: ความรุ่งเรืองที่เลือนหาย
ในเมืองกว่างโจว (廣州市) มณฑลกวางตุ้ง (廣東省) มีย่านชุมชนแห่งหนึ่งชื่อว่า ว่านซงหยวน (萬松園) อันหมายถึง “อุทยานหมื่นสน” ที่มาของชื่อนี้มาจากการที่ครั้งหนึ่ง บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของคฤหาสน์และอุทยานส่วนตัวอันหรูหราของคหบดีตระกูลอู่ ตระกูลพ่อค้าที่ยิ่งใหญ่และร่ำรวยที่สุดในกว่างโจวในช่วงก่อนสงครามฝิ่น นามว่า "ว่านซงหยวน" ซึ่งปัจจุบันไม่เหลือร่องรอยให้พบเห็นแล้ว
“จางอาหลิน” จากผู้ต้องสงสัยวางยาพิษสู่มหาเศรษฐีแห่งไซง่อน
ในวันที่ 15 มกราคม คริสต์ศักราช 1857 ในอาณานิคมฮ่องกงของอังกฤษได้เกิดคดีสะเทือนขวัญขึ้นคดีหนึ่ง เมื่อชาวตะวันตกจำนวนหลายร้อยคน รวมทั้งเซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง ( Sir John Bowring ค.ศ. 1792 - 1872) ข้าหลวงใหญ่ถูกนำส่งโรงพยาบาลกะทันหันเนื่องจากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องและวิงเวียนศีรษะฉับพลัน
ถอดรหัสความหมายมงคลชื่ออาหารจีน
“ราษฎรดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร”(民以食為天) อัญพจน์ข้างต้นเป็นวาทะอันโด่งดังในหนังสือ “บันทึกประวัติศาสตร์” (史記) ซึ่งเรียบเรียงโดย ซือหม่าเชียน (司馬遷 ราว 145 หรือ 135 – 86 ปีก่อน ค.ศ.) ในยุคราชวงศ์ฮั่น (漢) ข้อความดังกล่าวสะท้อนคตินิยมของสังคมจีนว่า "อาหารการกินเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้คน"
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจีนยุคโบราณ
แม้ว่าสังคมจีนสมัยโบราณจะอยู่ในบริบทของระบบตระกูลแซ่[1] (宗族制度) การทำหน้าที่แก้ไขความขัดแย้ง หรือยุติข้อพิพาทโดยส่วนใหญ่จะขึ้นกับอำนาจของประมุขในชุมชนนั้นๆ แต่ในขณะเดียวกันชาวจีนก็เล็งเห็นถึงความสำคัญของกฎหมายมาตั้งแต่โบราณกาล เช่น กำหนดกฎระเบียบข้อบังคับเพื่อรักษาความสงบ และความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
แนะนำวรรณคดีและตัวละครสตรีในจินผิงเหมย
นวนิยายเรื่องจินผิงเหมย หรืออีกชื่อที่คนไทยคุ้นเคยว่าบุปผาในกุณฑีทอง (金瓶梅) ซึ่งแปลจากฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ (ที่แปลจากภาษาเยอรมันอีกทอดหนึ่งโดย “ยาขอบ” ชื่อภาษาจีนจินผิงเหมยนั้น มีที่มาเกี่ยวโยงกับชื่อของตัวละครหลัก 3 คนในเรื่องได้แก่ พานจินเหลียน (潘金ทอง蓮) หลี่ผิงเอ๋อร์ (李瓶แจกัน兒) และผังชุนเหมย (龐春梅ดอกเหมย) ด้วยการสะท้อนมุมมอง ตลอดจนกระบวนทัศน์ของสตรีจีนในสังคมยุคโบราณ จินผิงเหมยจึงเป็นวรรณกรรมที่มีคติเตือนใจสำหรับผู้คนทุกยุคทุกสมัย