Cultural History2025-02-26T11:41:45+07:00

ประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรมจีน

บทความสาระความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน

ปัญญาจากจีน : เจิงเยี่ยน (争雁) – โต้แย้งเรื่องห่านป่า

ประพันธ์ โดย หลิวหยวนชิง (劉元卿ค.ศ. 1544 – ค.ศ.1609) คัดมาจากหนังสือ《應諧錄》ในสมัยราชวงศ์หมิง (明ค.ศ. 1368 – ค.ศ.1644)

การมัดเท้าของสตรีจีน: ความงามหรือพันธนาการ (ตอนที่ 2)

จากค่านิยมเรื่องความงามของผู้หญิงบางกลุ่มกลายเป็นธรรมเนียมที่นิยมไปในวงกว้าง เมื่อสืบหาที่มาของ การมัดเท้าซึ่งถูกมองว่าเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์เฉพาะสังคมจีนยุคศักดินา สันนิษฐานว่าความตั้งใจเดิมคงไม่ได้มุ่งทำร้ายร่างกายผู้หญิง แต่เป็นการแสวงหาความงามของผู้หญิงบางกลุ่ม เช่น เหล่านางรำ นางกำนัลในพระราชวัง ฯลฯ

การมัดเท้าของสตรีจีน: ความงามหรือพันธนาการ (ตอนที่ 1)

การมัดเท้า (缠足) เป็นประเพณีแปลกประหลาดที่ปรากฏในสังคมจีนครั้งอดีต เป็นการใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมพันเท้าผู้หญิง มัดให้แน่นไว้เป็นเวลานานจนเท้าค่อยๆ บิดงอได้รูปทรงตามที่ต้องการ และเล็กลงเป็นรูปสามเหลี่ยม คนส่วนใหญ่เลือกมัดเท้าตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อชะลอการเจริญเติบโตของเท้า โดยทั่วไปเริ่มผูกรัดเท้าเด็กผู้หญิงตั้งแต่อายุ 4-5 ขวบ กระทั่งโตขึ้นจนกระดูกคงตัวจึงปลดผ้าออก แต่ก็มีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ใช้ผ้ามัดเท้าไว้ตลอดชีวิต

จากเปลือกหอยถึงเงินดิจิตอล พัฒนาการเงินตราของจีน

เงินตราของจีนเป็นหนึ่งในเงินซึ่งเก่าแก่ที่สุดในโลก และแปรเปลี่ยนรูปลักษณ์มาตลอดเวลากว่า 4 พันปี เป็นสีสันอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในหน้าประวัติศาสตร์ เงินจีนบางยุคไม่เพียงใช้ในประเทศเท่านั้น แต่ยังแพร่หลายไปทั่วเอเชียอีกด้วย

เกร็ดวัฒนธรรมการกินช่วงตรุษจีน

เทศกาลตรุษจีน (春節) เป็นเทศกาลสำคัญของชาวจีนมาช้านาน ทุกพื้นที่ทั่วประเทศล้วนจัดงานเฉลิมฉลอง มีการเชิดสิงโต จุดประทัด ตกแต่งบ้านเรือนด้วยคำกลอนมงคล ผู้คนซึ่งทำงานในเมืองหรือต่างมณฑลล้วนเดินทางกลับบ้านเกิดไปใช้เวลากับครอบครัว ทุกบ้านรับประทานอาหารร่วมกัน อาหารที่ชาวจีนนิยมรับประทานในช่วงตรุษจีนล้วนแฝงความหมายมงคลทั้งนั้น ประเภทอาหารที่เรามักได้ยินได้แก่

การค้นพบ ‘เจี๋ยกู่เหวิน’ อักษรจีนยุคแรก

‘เจี๋ยกู่เหวิน’ (甲骨文) คืออักษรจีนโบราณชนิดหนึ่งที่จารลงบนกระดองเต่าหรือกระดูกสัตว์ คำว่า ‘เจี่ย’ (甲) มาจาก ‘กุยเจี่ย’ (龜甲) หมายถึง กระดองเต่า และ ‘กู่’ มาจาก ‘โซ่วกู่’ (獸骨) หมายถึง กระดูกสัตว์ นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น ‘อักษรจาร’ (契文) ‘อักษรกระดองเต่ากระดูกสัตว์’ (龜甲獸骨文) ‘อักษรทำนายบนกระดองเต่าและกระดูกสัตว์’ (甲骨卜辭) ‘อักษรอินซวี’ (殷墟文字) เป็นต้น

Go to Top