ประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรมจีน
บทความสาระความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน
“หลิ่มไต่คิม” กับบทบาททางวัฒนธรรมถิ่นแต้จิ๋ว
มีนิทานพื้นบ้านหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชะตาชีวิตของหลิ่มไต่คิม (林大欽 หลินต้าชิน ค.ศ. 1511~1545) จอหงวนฝ่ายบุ๋นท่านเดียวในประวัติศาสตร์แต้จิ๋ว (潮州) และนิทานเหล่านี้ก็เป็นที่มาของสำนวนแต้จิ๋วบางสำนวน รวมถึงประเพณีต่างๆ ที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
ทำไมจึงเรียก “เสี่ยวเอ้อร์” ?
เสี่ยวเอ้อร์” (小二) หมายถึง บริกรเพศชายตามโรงเตี๊ยม โรงน้ำชา หรือศาลาพักม้า โดยรูปศัพท์ คำว่า “เสี่ยวเอ้อร์ จะแปลว่า “ลำดับที่สอง” ซึ่งดูแล้วก็ไม่น่าจะมีอะไรเกี่ยวข้องกับบริกรเลย แต่การเรียกขานเช่นนี้ก็เนื่องมาแต่จีนสมัยโบราณ การเรียกชื่อเสียงเรียงนามจะมีใช้กันก็แต่ในหมู่ขุนนางและชนชั้นสูงที่มีการศึกษาเท่านั้น
“หลิ่มไต่คิม” ยอดจอหงวนแห่งประวัติศาสตร์แต้จิ๋ว
นับแต่ระบบการสอบคัดเลือกข้าราชการแบบเคอจี่ว์ เริ่มมีขึ้นในสมัยราชวงศ์สุย จนถึงการจัดสอบครั้งสุดท้ายในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งกินระยะเวลาราว 1,300 ปี หากอ้างอิงตามหลักฐานประวัติศาสตร์ที่ยังคงเหลืออยู่ให้สืบค้น มีบัณฑิตผู้สอบได้จอหงวนทั้งหมด 592 คน หนึ่งในนั้น คือ “หลิ่มไต่คิม”
เจ้าแม่มาจู่ เทพธิดาแห่งท้องทะเล (海神妈祖)
หากกล่าวถึงชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มแรกๆ ที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ชาวฮกเกี้ยนคงเป็นกลุ่มหนึ่งที่หลายคนนึกถึง ชาวจีนกลุ่มนี้อพยพเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนใหญ่มีบทบาทสำคัญทางการค้า นอกจากความเจริญรุ่งเรืองทางการค้าและความสัมพันธ์ทางการทูตแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ชาวจีนโพ้นทะเลเหล่านี้นำติดตัวเข้ามาด้วย และมีอิทธิพลต่อชนพื้นเมืองในภายหลังก็คือ “วัฒนธรรม”
“ลูกหมู” การค้าแรงงานจีนไปต่างประเทศ
คำว่า “ลูกหมู” (豬仔) มาจากไหน มีที่มาอย่างไร เหตุใดจึงมีประเด็นโยงใยไปถึงการค้าแรงงานจีนไปต่างประเทศได้ แม้แต่ในปัจจุบันยังปรากฏคำว่า “ลูกหมู” หรือ “แก๊งลูกหมู” (豬仔帮) บนหน้าหนังสือพิมพ์ยามที่กล่าวถึงเหล่ามิจฉาชีพชาวจีน ซึ่งเป็นถ้อยคำที่แฝงไปด้วยความหมายเชิงลบและการดูถูกดูแคลน
เอ็งกอ: จากศิลปะพื้นบ้านจีนสู่วิถีชุมชนไทย
เอ็งกอ (英歌) ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า “อิงเกอ” (Yīng gē) คือศิลปะการแสดงพื้นบ้านแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นที่นิยมในพื้นที่แถบชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เตี่ยซัว (潮汕) และบางพื้นที่ของมณฑลฮกเกี้ยน (福建 ฝูเจี้ยน) ในวันสำคัญต่างๆ ของทุกปี เช่น เทศกาลตรุษจีน (春節) เทศกาลหยวนเซียว (元宵節) ฯลฯ จะมีการจัดกระบวนแห่อันน่าตื่นตาตื่นใจเพื่อให้เกิดความสนุกสนานตลอดมา