ประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรมจีน
บทความสาระความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน
บทเพลง “สุราเก่าหนึ่งกา” (一壶老酒) โดยลู่ซู่หมิง (陆树铭)
1 พ.ย. ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 2 ปีการเสียชีวิตของคุณ "ลู่ซู่หมิง" นักแสดงชื่อดังของจีน ผู้ฝากผลงานอันยอดเยี่ยมและประทับใจผู้ชมไว้มากมาย โดยเฉพาะบท "กวนอู" จากละครโทรทัศน์เรื่อง "สามก๊ก" ทางอาศรมสยามฯ จึงได้แปลบทเพลง 《一壶老酒》"สุราเก่าหนึ่งกา" ที่แต่งทำนอง คำร้อง รวมถึงขับร้องโดยคุณลู่ซู่หมิง เพื่อรำลึกถึงนักแสดงมากฝีมือท่านนี้
บันทึกรักปิ่นม่วง: นาฏกรรมแสนรันทดแต่งดงามตรึงใจ
"บันทึกรักปิ่นม่วง" เป็นบทงิ้วคุนฉี่ว์ที่แต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง โดยนักเขียนบทละครชาวเมืองหลินชวน มณฑลเจียงซี นามทังเสี่ยนจู่ ดัดแปลงโครงเรื่องและเนื้อเรื่องจาก "ตำนานฮั่วเสี่ยวอี้ว์" ที่แต่งโดยเจี่ยงฝางและเป็นบทละครจ๋าจี้ว์ ซึ่งมีอยู่เดิมในสมัยราชวงศ์ถัง ตำนานทั้งสองเรื่องพรรณนาความรักของบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์อย่างหลี่อี้ กวีและขุนนางผู้ใหญ่ กับหญิงสาวนามฮั่วเสี่ยวอี้ว์
“เติ้งสุย” หงส์เหนือมังกรแห่งฮั่นตะวันออก
แม้ว่าในสังคมจีนโบราณจะมีสำนวนกล่าวว่า “ถ้าไก่ตัวเมียขันตอนย่ำรุ่ง บ้านเรือนจักมีเรื่องวุ่นวาย” (牝雞司晨,惟家之索) ซึ่งมีความหมายเชิงอุปมาว่า “ถ้าผู้หญิงขึ้นเป็นใหญ่ บ้านเมืองจักระส่ำระสาย” ทว่าในประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ยุคบรรพกาลเป็นต้นมา ก็ปรากฏสตรีมากหน้าหลายตาที่กุมอำนาจ สร้างชาติบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นได้ไม่แพ้บุรุษ
ปานเจา: ยอดกัลยาณี นักประวัติศาสตร์หญิงคนแรกของจีน
แม้จะมิได้มีรูปโฉมงามเลิศเยี่ยงไซซี (西施 ราว 503–473 ปีก่อนค.ศ.) และหวังเจาจวิน (王昭君 ราว 54–19 ปีก่อนค.ศ.) แต่ “ปานเจา” (班昭 ราวค.ศ. 49–120) ก็ปรากฏเกียรติคุณโด่งดังอยู่ในประวัติศาสตร์จีน เพราะเป็นยอดกัลยาณีผู้เพียบพร้อมไปด้วยความรู้เป็นเลิศและประเสริฐด้วยจริยาวัตร หาผู้เสมอเหมือนมิได้
‘แพะ’ สัตว์มงคลของจีน
ความเชื่อเรื่องสิริมงคลได้ซึมซาบอยู่ในวิถีชีวิตของชาวจีนอย่างกลมกลืนและแนบแน่นมาช้านาน แม้จะยังไม่สามารถระบุแน่ชัดว่า ความเชื่อเรื่องสิริมงคลของชาวจีนเริ่มต้นขึ้นเมื่อใด มีที่มาอย่างไร แต่มีข้อสันนิษฐานที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า เมื่อมนุษย์เราใฝ่หาความสุข ความงาม และความปลอดภัย ก็ย่อมอยากให้ทุกสิ่งในชีวิตสมหวังดังที่ปรารถนาเป็นธรรมดา ซึ่งเห็นได้จากความเชื่อต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
ภาพเขียนกระจก ศิลปกรรมจีนที่สร้างชื่อเสียงในตลาดยุโรป
ศิลปะจีนมีเกียรติประวัติและพัฒนาการมาเนิ่นนาน ทั้งยังได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ไทยเป็นประเทศหนึ่งซึ่งนิยมนำศิลปะจีนมาประยุกต์ใช้กับสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 3 ในบรรดางานศิลปกรรมจีนที่นำมาตกแต่งวัดวาอารามจำนวนมากในรัชกาลดังกล่าวนั้น ภาพเขียนกระจกกลับด้านแบบจีน ถือเป็นงานวิจิตรศิลป์ที่เสริมองค์ประกอบภายในพระอารามให้มีความงดงามยิ่งขึ้น แต่ความเป็นมาของภาพเขียนกระจกเหล่านี้ก็น่าสนใจและควรค่าแก่การเรียนรู้เช่นกัน